Page 28 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 28

23

                         1.5 นำตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้ ความคิดรวบยอด และจุดประสงค์การ
               เรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ และ

                                  ื่
               ด้านเทคนิคการสอนเพอตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆในแผนการจัดการเรียนรู้ ในด้านความ
               เที่ยงตรงเนื้อหา (Content  Validity) ความคมชัด ความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ และการวัดประเมินผล
               โดยกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา
                              เห็นว่าสอดคล้อง      ให้คะแนน +1
                              ไม่แน่ใจ             ให้คะแนน 0

                              เห็นว่าไม่เหมาะสม    ให้คะแนน -1
                         การวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้  โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง
               (ICO) คำนวณค่าตามสูตร

                                                  R
                                            IOC =
                                                  N
                         R= ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
                         N= จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

                         นำข้อมูลที่รวบรวมจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง
               ของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องแล้วเลือกค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป
                      2)  การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                         แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน

               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 เป็นข้อสอบแบบองเกณฑ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้น มี
                                                   ิ
               ขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
                         2.1 ศึกษาเทคนิคการเขียนข้อสอบ และวิธีการสร้างข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
               จากหนังสือวัดผลการศึกษาของสมนึก ภัทธิยธนี (2546: 11-28) และหนังสือการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

               แบบอิงเกณฑ์ของบุญชม ศรีสะอาด (2545: 53-66)
                         2.2 กำหนดจำนวนข้อสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ให้สอดคล้องและครอบคลุมเนื้อหาและ
               จุดประสงค์การเรียนรู้
                      3)  การสร้างแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้

                         3.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด หลักการ และวิธีการสร้างแบบวัดความพึงพอใจ จากหนังสือการวิจัยเชิง
               ปฏิบัติการในชั้นเรียนของ สมนึก ภัททิยธนี (2551: 48-53)
                         3.2 สร้างแบบวัดความพงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
                                             ึ
               มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ซึ่งให้คะแนน 5 ระดับ ดังนี้
                              พึงพอใจมากที่สุด          ให้ 5 คะแนน
                              พึงพอใจมาก              ให้ 4 คะแนน
                              พึงพอใจปานกลาง       ให้ 3 คะแนน
                              พึงพอใจน้อย          ให้ 2 คะแนน

                              พึงพอใจน้อยที่สุด    ให้ 1 คะแนน
                         โดยกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ดังนี้
                              ระดับคะแนนเฉลี่ย       4.51 – 5.00  มีความพึงพอใจมากที่สุด

                              ระดับคะแนนเฉลี่ย       3.51 – 4.50  มีความพึงพอใจมาก
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33