Page 19 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
P. 19
14
4.10 เขียนทั้งตัวถูกและตัวผิดให้ถูหรือผิดตามหลักวิชา คือจะกำหนดตัวถูกหรือผิด เพราะสอดคล้อง
กับความเชื่อของสังคม หรือกับคำพังเพยทั่วๆไป ไม่ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากการเรียนการสอนมุ่งให้ทราบความจริงตาม
หลักวิชาเป็นสำคัญ จะนำความเชื่อโชคลาง หรือขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะท้องถิ่นมาอ้างไม่ได้
4.11 เขียนตัวเลือกให้อิสระขาดจากกัน พยายามอย่าให้ตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งหรือ
ส่วนประกอบของตัวเลือกอื่น ต้องให้แต่ละตัวเป็นอิสระจากกันอย่างแท้จริง
4.12 ควรมีตัวเลือก 4-5 ข้อสอบแบบเลือกตอบนี้ ถ้าเขียนตัวเลือกเพียง 2 ตัว ก็กลายเป็นข้อสอบแบบ
ถูก-ผิด และเพื่อป้องกันไม่ให้เดาได้ง่ายๆ จึงควรมีตัวเลือกมากๆ ตัว ที่นิยมใช้หากสอบระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2
ควรใช้ 3 ตัวเลือก ระดับประถมศึกษาปีที่ 3-6 ควรใช้ 4 ตัวเลือก และตั้งแต่มัธยมศึกษาขึ้นไปควรใช้ 5 ตัวเลือก
4.13 อย่าแนะคำตอบ ซึ่งการแนะคำตอบมีหลายกรณี ดังนี้
4.13.1 คำถามข้อหลังๆ แนะคำตอบข้อแรกๆ
4.13.2 ถามเรื่องที่ผู้เรียนคล่องปากอยู่แล้ว โดยเฉพาะคำถามประเภทคำพังเพย สุภาษิต คติ
พจน์หรือคำเตือนใจ
4.13.3 ใช้ข้อความของคำตอบถูกซ้ำกับคำถามหรือเกี่ยวข้องกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักเรียน
ที่ไม่มีความรู้ก็อาจจะเดาได้ถูก
4.13.4 ข้อความของตัวถูกบางส่วนเป็นส่วนหนึ่งของทุกตัวเลือก
4.13.5 เขียนตัวถูกหรือตัวลวงถูกหรือผิดเด่นชัดเกินไป
4.14.6 คำตอบไม่กระจาย
จากหลักการในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ ครูผู้สร้างจำเป็นต้อง
ยึดหลักเกณฑ์ทั้ง 13 ข้อ เพอให้ได้ข้อสอบแบบเลือกตอบที่มีคุณภาพและต้องคำนึงถงลักษณะของข้อสอบที่ดีด้วย
ึ
ื่
ได้แก่ ความเที่ยวตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย อำนาจจำแนก และความยาก (สมนึก ภัททิยนี. 2537: 54)
5. ความพึงพอใจในการเรียนรู้
1) ความหมายของความพึงพอใจ (Satisfaction)
อานนท์ กระบอกโท (2543: 33) สรุปความหมายของความพึงพอใจว่าความพึงพอใจ หมายถึง
ความรู้สึกหรือเจตคติที่ดีต่อการทำงานนั้น เช่น ความรู้สึก ชอบ ภูมิใจ และยินดี ผู้มีความพึงพอใจในการทำงานจะ
มีความเสียสละ อุทิศแรงกายใจและสติปัญญาให้แก่งานอย่างแท้จริง
ศุภศิริ โสมาเกตุ (2544: 49) สรุปความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดหรือเจตคติ
ส่วนบุคคลที่มีต่อการทำงาน หรือการปฏิบัติกิจกรรมในเชิงบวก ดังนั้น ความพอใจ
ในการเรียนรู้ จึงหมายถึง ความรู้สึกพอใจ ชอบใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน และต้องดำเนินกิจกรรม
นั้นๆ จนบรรลุผลสำเร็จ
ทองบ่อ ต้นสีนนท์ (2534: 42) กล่าวถึงความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจหมายถึง
ี่
ความรู้สึกที่ดีของบุคคลต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเป็นความรู้สึกทดีที่เกิดจากการตอบสนอง ทั้งร่างกายและจิตใจทำให้เกิด
ความพึงพอใจ
รักพงษ์ วงษ์ธานี (2546: 65) ให้ความหมายความพงพอใจว่า ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกที่ดี หรือ
ึ
ทัศนคติในทางที่ดีของบุคคล ซึ่งมักเกิดจากการได้รับการตอบสนองตามที่ตนเองต้องการก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีในสิ่ง
นั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการที่ตนเองไม่ได้รับการตอบสนองความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น