Page 1 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 1

1


                                               บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
               11.1 การเคลื่อนที่และอัตราเร็วแสง

                       แสงที่ตามองเห็น คือ แสงที่มีสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วแสงเป็น 3 × 10
                                                                                                         8
               เมตรต่อวินาที อัตราเร็วแสงในตัวกลางที่ต่างกันจะมีคาไม่เท่ากัน โดยทุกอัตราเร็วจะมีค่าน้อยกว่าอัตราเร็วแสง
                                                           ่
               ในสัญญากาศ
                       จากการศึกษาเรื่องคลื่นกล แนวสันคลื่น ท้องคลื่น หรือตำแหน่งใด ๆ บนคลื่นที่มาจากแหล่งกำเนิด

               เดียวกัน ที่มีเฟสตรงกัน เมื่อกระทบกับวัตถุ บริเวณที่ตกกระทบจะเรียกว่า หน้าคลื่น โดยเส้นตรงที่ตั้งฉากกับ
               หน้าคลื่น ที่มีลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง เรียกว่า รังสีของแสง หรือ รังสี










                              รูปที่ 28 ก.ทิศทางการเคลื่อนที่และหน้าคลื่นตกกระทบและคลื่นสะทอน
                                                                                        ้
                                               ข.รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน
               11.2 การสะท้อนของแสง

                       เมื่อแสงตกกระทบกับพื้นผิวของวัตถุ จะเกิดการสะท้อนของแสง โดยลักษณะการตกกระทบของแสง
               จะขึ้นกับลักษณะของผิววัตถุ สำหรับวัตถุระนาบที่มีผิวเรียบเป็นมัน เช่น กระจกเงา จะมีรังสีสะท้อนในทิศทาง
               เดียวกัน แต่วัตถุที่มีผิวขรุขระ จะมีรังสีสะท้อนในทิศทางต่าง ๆ กัน










                                         รูปที่ 29 ลักษณะการสะท้อนของแสงที่ผิววัตถุ
                       ถ้ารังสีของแสงตกกระทบกับวัตถุที่มีผิวราบ ผิวโค้งนูน และผิวโค้งเว้า จะมีการสะท้อนของแสงที่มี
               ลักษณะเดียวกัน คือ รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉากจะอยู่บนระนาบเดียวกัน ดังนั้นถือว่าผิวโค้ง
               และผิวราบ เป็นผิวเรียบ















                                                      ้
                                       รูปที่ 30 การสะทอนของแสงที่ผิวเรียบแบบต่าง ๆ
                       เราอาจถือได้ว่าวัตถุผิวขรุขระเป็นวัตถุผิวเรียบ เพราะเมื่อพิจารณาบริเวณเล็ก ๆ บนพื้นผิวขรุขระ
               พบว่าผิวขรุขระประกอบด้วยผิวเรียบจำนวนมาก โดยผิวเรียบนั้น ๆ วางมุมต่างกัน จึงมีมุมตกกระทบต่างกัน
   1   2   3   4   5   6