Page 6 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 6

6


                       ในกรณีวัตถุอยู่บนแกนมุขสำคัญและอยู่ไกลจากเลนส์มาก เลนส์นูนจะให้ภาพจริง ฉากรับได้ และ
               เลนส์เว้าจะให้ภาพเสมือน โดยเลนส์ที่ใช้ศึกษาเป็นเลนส์บาง ที่มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับระยะวัตถุ ระยะ

               ภาพ และรัศมีความโค้งของผิวโค้งทรงกลมทั้งสองผิว เมื่อแสงจากวัตถุกระทบเลนส์จะประมาณว่ามีการหักเห
               ครั้งเดียว
                       ในกรณีวัตถุอยู่ระหว่างโฟกัส F และจุด O ภาพที่เกิดจากเลนส์นูนมีทั้งขนาดขยาย เท่ากับ และเล็ก
               กว่าวัตถุ ภาพที่เกิดมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือน ขึ้นอยู่กับระยะวัตถุ ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าจะเป็น

               ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเล็กลงเสมอ
                       การทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และ
                                                            1    1     1
               ความยาวโฟกัสของเลนส์นูน ได้กราฟความสัมพันธ์  +       =  และขนาดภาพ y’ และขนาดวัตถุ y มี
                                                                    ′    
                                      ′      ′
               ความสัมพันธ์ดังสมการ   =
                                            

               11.5 ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับแสง
               11.5.1 การกระจายแสง

                       เมื่อให้แสงขาวผ่านปริซึมสามเหลี่ยมพบว่าแสงที่หักเหออกมาจากปริซึมจะไม่เป็นสีขาว แต่จะมีสี
               ต่างกัน แสงแต่ละสีที่หักเหออกมาจะทำมุมหักเหต่างกัน แสงแต่ละสีจึงปรากฏบนฉาก ณ ตำแหน่งต่าง ๆ กัน
               เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การกระจายแสง มุมที่รังสีหักเหออกจากปริซึมทำกับรังสีตกกระทบที่ผิวแรกของปริซึม
               เรียกว่า มุมเบี่ยงเบน ถ้าให้ปริซึมรับแสงอาทิตย์ แถบสีที่ได้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่ใช้รับแสงจากกล่องแสง

               เรียกแถบสีนี้ว่า สเปกตรัมของแสงขาว
               11.5.2 รุ้ง
                       รุ้งเกิดจากการที่แสงอาทิตย์หักเหผ่านละอองน้ำ แล้วหยดน้ำทำให้เกิดการกระจายและการสะท้อนที่
               ผิวภายในหยดน้ำ ทำให้ได้สเปกตรัมของแสงขาว รุ้งมี 2 ชนิด ได้แก่ รุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิ ซึ่งขึ้นกับ

               ลักษณะการสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบหยดน้ำ
                       เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบผิวด้านบนของหยดน้ำ แสงจะหักเหผ่านผิวโค้งแรกเข้าสู่หยดน้ำ ทำให้เกิด
               การกระจายแสง พบว่าแสงสีม่วงมีมุมหักเหน้อยสุด และแสงสีแดงมีมุมหักเหมากสุด เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบ
               ผิวด้านล่างของหยดน้ำ จะเกิดการกระจายแสงภายในหยดน้ำ และการสะท้อนแสงที่ผิวด้านในของหยดน้ำสอง

               ครั้ง แล้วแสงทุกสีตะหักเหออกสู่อากาศ รุ้งทุติยภูมิจะอยู่เหนือรุ้งปฐมภูมิ
               11.5.3 การทรงกลด
                       เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดแถบสีของแสงสีเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เกิดขึ้นในขณะที่

               ท้องฟ้ามีเมฆเซอรัส ภายในเมฆประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งรูปหกเหลี่ยม แสงขาวตกกระทบผลึกน้ำแข็งที่วางตัว
               เรียงแกนเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เกิดการหักเหและการกระจายแสงสีออกจากผลึกน้ำแข็ง
               เข้าสู่ตาผู้สังเกต การทรงกลดที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางเรียกว่า อาทิตย์ทรงกลด และการทรงกลดที่มีดวง
               จันทร์เป็นศูนย์กลางเรียกว่า จันทร์ทรงกลด
               11.5.4 มิราจ

                       เกิดจากการหักเหของแสงในบรรยากาศชั้นต่าง ๆ เพราะความหนาแน่นของอากาศในชั้นต่าง ๆ ไม่
               เท่ากัน มิราจมักเกิดในบริเวณที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันมาก เช่น ทะเลทรายหรือถนน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9