Page 3 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 3

3














                             รูปที่ 34 โฟกัสของกระจกเงาเว้า      รูปที่ 35 โฟกัสของกระจกเงานูน
                       เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C และ V เรียกว่า แกนมุขสำคัญ โดยจุด V เรียกว่า จุดยอด ในกรณีกระจกเงา
               นูน รังสีตกกระทบมีแนวขนานกับแกนมุขสำคัญ ดังรูปที่ 35 ถ้าต่อแนวของรังสีสะท้อนให้ย้อนกลับไปพบกัน

               จะได้จุดตัดของรังสีสะท้อนหรือโฟกัสของกระจกเงานูนอยู่ด้านหลังของกระจกเงาบนเส้นแกนมุขสำคัญ ความ
               ยาวโฟกัสของกระจกเงานูนเป็นครึ่งหนึ่งของรังสีความโค้งเช่นเดียวกับกรณีกระจกเงาเว้า แต่สำหรับรังสีตก
               กระทบที่ขนานกันแต่ไม่ขนานกับแกนมุขสำคัญ เมื่อสะท้อนจากกระจกโค้งจะไปตัดกันที่จุดหนึ่งบนระนาบ

               โฟกัส โดยเกณฑ์นี้ใช้ได้เฉพาะรังสีตกกระทบที่ทำมุมเล็ก ๆ กับแกนมุขสำคัญและตกกระทบกระจกเงาบริเวณ
               ใกล้ขั้วกระจกเงาเท่านั้น











                                             รูปที่ 36 ภาพที่เกิดจากกระจกเงาเว้า
                       ในกรณีกระจกเงาเว้า รังสีทั้งหลายตัดกันหน้ากระจกเงาเว้า ภาพที่เกิดจึงเป็นภาพจริงที่สามารถใช้
               ฉากรับภาพได้ วัตถุที่อยู่ห่างจากกระจกเงาเว้าไกลกว่าความยาวโฟกัส จะเกิดภาพจริงเสมอ แต่ถ้าวัตถุอยู่

               ระหว่างโฟกัสกับขั้วกระจก จะเกิดภาพเสมือน โดยกระจกเงาทั้ง 2 ชนิด มีความสัมพันธ์ของระยะวัตถุ ระยะ
                                                1
                                                      1
                                          1
               ภาพ และความยาวโฟกัส เป็น  =   +   นอกจากนี้ขนาดภาพยังมีทั้งใหญ่กว่า เท่ากับ และเล็กกว่า
                                                         ′
               วัตถุ เรียกการเปรียบเทียบขนาดของภาพกับขนาดของวัตถุว่า การขยาย กำหนด M แทนการขยาย มีสูตรว่า
                       ขนาดภาพ
                  =            โดยถ้า M>1 ภาพมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ M=1 ภาพมีขนาดเท่ากับวัตถุ M<1 ภาพมีขนาดเล็ก
                       ขนาดวัตถุ
               กว่าวัตถุ


               11.3 การหักเหของแสง
                       เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านผิวรอยต่อของตัวกลาง 2 ตัวกลาง จะเกิดการหักเหของแสง
               11.3.1 กฎการหักเหของแสง

                       รังสีของแสงที่เคลื่อนที่ผ่านผิวรอยต่อเข้าไปอกตัวกลางหนึ่ง เรียกว่า รังสีหักเห เมื่อทำการทดลองวาง
                                                           ี
               แท่นพลาสติกบนแผ่นกระดาษขาว แล้วฉายลำแสงตกกระทบผิวด้านข้างของแท่งพลาสติก จากนั้นลากเส้น
               ตามขอบพลาสติก รังสีตกกระทบ รังสีหักเหในแท่งพลาสติก และรังสีหักเหในอากาศ บนกระดาษขาว วัดมุม
               กระทบ มุมหักเหในแท่งพลาสติก มุมตกกระทบในแท่งพลาสติก และมุมหักเหในอากาศ ได้ความสัมพันธ์ว่า
   1   2   3   4   5   6   7   8