Page 5 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 5
5
จากรูป ในการมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำโดยผู้สังเกตอยู่ในอากาศ เนื่องจากอากาศมีดรรชนีหักเหน้อย
กว่าน้ำ มุมหักเหในอากาศจึงมีค่ามากกว่ามุมตกกระทบในน้ำ เมื่อต่อแนวรังสี B และ C รังสีจะตัดกันที่ Q ซึ่ง
เป็นตำแหน่งของวัตถุ และ Q’ เป็นภาพที่ตามองเห็น โดยระยะ AQ’ เรียกว่า ความลึกปรากฏ และระยะ AQ
เรียกว่า ความลึกจริง ดังนั้น ในการมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำ เราจะเห็นวัตถุตื้นกว่าเดิม ได้สมการว่า
ความลึกจริง 2 1
= =
ความลึกปรากฎ 1 2
11.4 เลนส์บาง
เลนส์มี 2 ชนิด ได้แก่ เลนส์นูน และ เลนส์เว้า เลนส์เป็นตัวกลางโปร่งแสงที่มีผิวโค้งทงสองด้าน มี 1
ั้
และ เป็นศูนย์กลางความโค้ง เส้นตรงที่ลากผ่าน และ เรียกว่า แกนมุขสำคัญ O เป็นจุดบนแกนมุข
2
1
2
สำคัญที่อยู่ภายในเลนส์ เรียกว่า ศูนย์กลางเลนส์ ดังรูป
รูปที่ 40 แกนมุขสำคัญ และศูนย์กลางเลนส์
ในกรณีเลนส์นูน รังสีผ่านเลนส์นูนจะหักเหและเมื่อออกจากเลนส์จะหักเหอีกครั้งหนึ่ง ไปรวมกันที่จุด
ๆ หนึ่งบนแกนมุขสำคัญของเลนส์นูน เรียกจุดนี้ว่า จุดโฟกัส หรือ F แต่ถ้ารังสีขนานตกกระทบทางด้านขวามือ
ของเลนส์ ก็จะมารวมกันที่โฟกัสอีกด้านหนึ่งบนแกนมุขสำคัญ คือจุด F’ แต่ถ้ารังสีขนานเหล่านี้ไม่ขนานกับ
แกนมุขสำคัญ ก็จะไปรวมกันที่จุดหนึ่งบนระนาบโฟกัส ดังรูป
รูปที่ 41 จุดรวมแสงขนานเมื่อผ่านเลนส์นูน
ในกรณีเลนส์เว้า รังสีที่ขนานกับแกนมุขสำคัญเมื่อผ่านเข้าไปในเลนส์เว้าจะหักเห และเมื่อออกจาก
เลนส์ก็จะหักเหอีกครั้ง โดยรังสีหักเหจะเบนหรือกระจายออก ถ้ารังสีเหล่านี้ย้อนกลับไปก็จะพบกันที่จุด F’ ถ้า
ี
มีรังสีขนานมาจากทางขวาของเลนส์ก็จะทำให้เกิดโฟกัสเสมือน F’ ขึ้นอกด้านเดียวกัน ความยาวโฟกัสของ
เลนส์เว้าทั้งสองกรณีเท่ากัน ในกรณีที่รังสีขนานไม่ขนานกับแกนมุขสำคัญก็สามารถเขียนแนวของรังสีหักเหได้
ในทำนองเดียวกับกรณีของเลนส์นูน
รูปที่ 42 โฟกัสของเลนส์เว้า