Page 10 - บทที่ 9 คลื่นกล
P. 10
10
หักล้างกัน เรียกว่า การแทรกสอดแบบหักล้าง ในกรณีที่คลื่นอาพันธ์สองขบวนที่มีเฟสตรงกันหรือมีความต่างเฟส
คงตัวมาซ้อนทับกัน จะเกิดการแทรกสอดแบบเสริมกันและหักล้างกัน โดยเรียกตำแหน่งที่การกระจัดของคลื่นทั้ง
สองหักล้างกันแล้วทำให้การกระจัดมีค่าเป็นศูนย์ว่า ตำแหน่งบัพ (Node) และเรียกตำแหน่งที่การกระจัดของคลื่น
ทั้งสองขบวนเสริมกันแล้วทำให้มีการกระจัดมากที่สุดเรียกว่า ตำแหน่งปฏิบัพ (Antinode)
รูปที่ 15 เส้นบัพและเส้นปฏิบัพที่เกิดจากการแทรกสอดของคลื่น
ถ้ากำหนดให้ S และS เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นอาพันธ์ P ซึ่งเป็นจุดบนเส้นปฏิบัพใด ๆ จะได้ว่า
1
2
|s P − s P| = λ เมื่อ = 0,1,2,… (9.8)
1
2
ถ้า Q เป็นจุดบนเส้นบัพใด ๆ จะได้
1
|s − s Q| = (n + ) λ เมื่อ n = 0,1,2,… (9.9)
2
1
2
ปริมาณ |s P − s P| และ |s − s Q| เรียกว่า ความต่างระยะทาง (Path difference)
2
1
1
2
ขณะเกิดการแทรกสอดของคลื่นอาพันธ์ คลื่นรวมที่เกิดขึ้นจะปรากฏเสมือนว่านิ่งอยู่กับที่ เรียกว่า คลื่นนิ่ง
(Standing wave)
รูปที่ 16 การแทรกสอดของคลื่นต่อเนื่องวงกลมสองขบวน