Page 6 - บทที่ 9 คลื่นกล
P. 6

6


               9.2 คลื่นผิวน้ำ

                       คลื่นผิวน้ำเป็นคลื่นกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ผิวน้ำถูกรบกวนและมีการถ่ายโอนพลังงานผ่านอนุภาคของน้ำ
               โดยอนุภาคของน้ำไม่ได้มีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น ซึ่งโดยปกติแล้วคลื่นหนึ่งลูกจะประกอบไปด้วย การ

               กระจัด (Displacement) ซึ่งก็คือ ระยะที่วัดจากแนวกลาง  (แนวสมดุล) ไปยังตำแหน่งใด ๆ บนคลื่น สำหรับ

               ตำแหน่งสูงสุดของคลื่นเหนือระดับน้ำปกติ เรียกว่า สันคลื่น (Crest) และตำแหน่งต่ำสุดของคลื่นใต้ระดับน้ำปกติ
               เรียกว่า ท้องคลื่น (Trough) โดยระยะจากสันคลื่นถึงสันคลื่นถัดไปหรือระยะจากท้องคลื่นถึงท้องคลื่นถัดไป

               เรียกว่า ความยาวคลื่น (Wavelength) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ λ มีหน่วยเป็นเมตร (m) หรืออาจกล่าวได้ว่า

               ความยาวคลื่นนั้นเป็นระยะห่างระหว่างจุด 2 จุดบนคลื่นที่มีเฟสต่างกัน 360 องศา หรือ 2   เรเดียน ตำแหน่งที่มี
               การกระจัดมากที่สุด ทั้งอยู่บนสันคลื่นและท้องคลื่น เรียกว่า แอมพลิจูด (Amplitude) ซึ่งจุด 2 จุด ที่อยู่ห่างกัน

               เป็นระยะหนึ่งความยาวคลื่นจะห่างจากระดับสมดุลเท่ากัน และเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า จุดทั้งสองมี

               เฟสตรงกัน ส่วนจุด 2 จุด ที่อยู่ห่างกันเป็นระยะครึ่งความยาวคลื่นจะห่างจากระดับสมดุลเท่ากัน และเคลื่อนที่ใน
               ทิศทางตรงข้ามกัน เรียกว่า จุดทั้งสองมีเฟสตรงข้ามกัน














                                       รูปที่ 9 องค์ประกอบของคลื่นผิวน้ำ ณ เวลาขณะหนึ่ง

               จุด ก และ ค แสดงถึง การกระจัด (Displacement)
               จุด ข และ จ แสดงถึง สันคลื่น (Crest)

               จุด ง และ ฉ แสดงถึง ท้องคลื่น (Trough)

               ระยะจากจุด ข ถึง จ หรือ ระยะจากจุด ง ถึง ฉ แสดงถึง ความยาวคลื่น (Wavelength)
                       ภายในตัวกลางหนึ่ง ๆ อัตราเร็วของคลื่นจะมีค่าคงตัว เมื่ออนุภาคมการสั่นขึ้นลงครบหนึ่งรอบ คลื่นผิวน้ำ
                                                                              ี
               จะเคลื่อนที่ได้หนึ่งลูกคลื่น และได้ระยะทางเท่ากับหนึ่งความยาวคลื่น โดยระยะเวลาที่สันคลื่นหรือตำแหน่งใด ๆ

               บนคลื่น เคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า อัตราเร็วคลื่น (Wave speed) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์    มี
               หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) สำหรับคลื่นผิวน้ำจะมีอัตราเร็วที่คงตัว ซึ่งหาได้จาก     =   λ

               และจำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ บนผิวน้ำในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า ความถี่ (Frequency) เขียน

               แทนด้วยสัญลักษณ    มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz) และช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ
                               ์
               ครบหนึ่งลูกหรือเวลาที่อนุภาคของผิวน้ำสั่นขึ้นลงครบ 1 รอบ จะเรียกว่า คาบ (Period) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์

               T มีหน่วยเป็นวินาที (s) โดยที่คาบ และความถจะมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
                                                      ี่
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11