Page 8 - บทที่ 9 คลื่นกล
P. 8
8
รูปที่ 11 คลื่นดลวงกลมสองคลื่นบนผิวน้ำเคลื่อนที่มาพบกัน
รูปที่ 12 ลักษณะการซ้อนทับกันของคลื่นดลสองขบวนที่เกิดขึ้นบนผิวน้ำ
เมื่อคลื่นดลวงกลมทั้งสองเคลื่อนที่เข้าหากันในลักษณะที่ท้องคลื่นหรือสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมาพบกัน
ค่าแอมพลิจูดของคลื่นรวมจะเพมมากขึ้น กล่าวคือ สันคลื่นของคลื่นรวมจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม และท้องคลื่นของคลื่น
ิ่
รวมจะต่ำกว่าเดิม ในรูปที่ 12 กำหนดให้เส้นประแสดงถึงท้องคลื่น และการซ้อนทับกันของท้องคลื่น (เป็นการรวม
แบบเสริมกัน) จะแสดงด้วยสัญลักษณ์ ส่วนเส้นทึบจะใช้แทนสันคลื่น การซ้อนทับกันของสันคลื่น (เป็นการรวม
แบบเสริมกัน) จะเขียนแทนด้วย และเมื่อสันคลื่นรวมกับท้องคลื่น หรือ ท้องคลื่นรวมกับสันคลื่น (เป็นการรวม
แบบหักล้าง) แอมพลิจูดของคลื่นรวมจะเท่ากับผลต่างของแอมพลิจูดของคลื่นทั้งสอง ซึ่งเขียนแทนด้วย
9.4 สมบัติของคลื่น (Property of waves)
คลื่นชนิดต่าง ๆ เมื่อเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง หรือเคลื่อนที่เข้าไปภายในตัวกลางชนิด
เดียวกัน แล้วพบสิ่งกีดขวาง คลื่นจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมบัติของคลื่นในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสมบัติ
ของคลื่นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ดังนี้
9.4.1 การสะท้อนของคลื่น (Reflection of wave) จะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปกระทบกับ
รอยต่อของอีกตัวกลางหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวาง แล้วทำให้คลื่นนั้นเคลื่อนที่สะท้อนกลับมาภายในตัวกลางเดิม ซึ่งเรา
เรียกคลื่นที่เคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปกระทบกับรอยต่อของอีกตัวกลางหนึ่ง ว่า “คลื่นตกกระทบ (Incident
wave)” ส่วนคลื่นที่สะท้อนกลับมาภายในตัวกลางเดิม ว่า “คลื่นสะท้อน (Reflected wave)” โดยการสะท้อน
จะเป็นไปตามกฎการสะท้อนของคลื่น ซึ่งกล่าวว่า “มุมตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”