Page 7 - บทที่ 9 คลื่นกล
P. 7
7
1
1
= หรือ = (9.6)
9.3 การซ้อนทับกันของคลื่น
เมื่อคลื่นดลตั้งแต่สองขบวนขึ้นไปเคลื่อนที่มาพบกัน ทำให้คลื่นดลเกิดการรวมตัวและซ้อนทับกันขึ้น จึงมี
ผลทำให้การกระจัดลัพธ์ในขณะที่คลื่นเกิดการนวมตัวกันมีค่ามากกว่าการกระจัดเดิมของคลื่นในแต่ละขบวน โดย
เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การซ้อนทับ (Superposition) โดยการซ้อนทับกันของคลื่นสามารถอธิบายได้ด้วยการใช้
หลักการซ้อนทับ (Principle of superposition) ซึ่งกล่าวว่า เมื่อคลื่นตั้งแต่สองคลื่นมาพบกันแล้วเกิดการ
รวมกัน การกระจัดของคลื่นรวมจะมีค่าเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นแต่ละคลื่นที่มาพบกัน หลังจากที่
คลื่นเคลื่อนผ่านพ้นกันแล้ว แต่ละคลื่นจะยังคงมีรูปร่างและทิศทางการเคลื่อนที่เหมือนเดิม
ก. เมื่อคลื่นดลทั้งสองมีทิศทางการกระจัดในทิศทางเดียวกัน
ข. เมื่อคลื่นดลทั้งสองมีทิศทางการกระจัดในทิศตรงข้ามกัน
รูปที่ 10 การซ้อนทับกันของคลื่นดลในลวดสปริงสองขบวน
นอกจากในลวดสปริงจะสามารถเกิดการซ้อนทับกันของคลื่นดลสองขบวนจกลายเป็นคลื่นรวมได้แล้ว
ยังมีคลื่นผิวน้ำที่สามารถเกิดการซ้อนทับกันของคลื่นดลสองขบวนได้เช่นกัน โดยศึกษาได้จากสถานการณ์ต่อไปนี้
เมื่อเรานำปลายดินสอสองแท่งไปเตะลงบนผิวน้ำจะเกิดคลื่นดลลักษณะวงกลมสองคลื่นเคลื่อนที่ขยาย
ออกจากแหล่งกำเนิด และเคลื่อนที่มาพบกัน ดังรูปที่ 11 และเมื่อเขียนแผนภาพแสดงลักษณะการซ้อนทับกันของ
คลื่นดลสองขบวนที่เกิดขึ้นบนผิวน้ำ ดังรูปที่ 12