Page 149 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 149
137
และศึกษาแนวทางการตรวจสอบแบบมี ส่วนร่วมของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการ
ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร
(We Hear You)
ข้อค้นพบ
1. ประชาชนส่วนใหญ่ยินดีหากได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ ของ
กรุงเทพมหานคร ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีความคิดเห็นว่า การมีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินงาน
จะมีส่วนช่วยพัฒนาบริการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและเสริมสร้างความโปร่งใส สำหรับประเด็นที่
ต้องการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากที่สุด ๓ ลำดับแรก คือ การแก้ไขปัญหาจราจร การจัดการขยะ
และการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
2. ตัวแทนข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในพื้นที่
กรุงเทพมหานครส่วน ใหญ่เห็นด้วยที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนิน
ของกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่ ไม่มีความกังวลใจ รวมทั้งมีความคิดเห็นว่าข้อดีของการมีส่วนร่วม
ในการตรวจสอบจากประชาชน คือ เกิดความ โปร่งใสในการทำงาน ตอบสนองความต้องการ
ของประาชนได้มากขึ้นและประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น
3. เรื่องร้องทุกข์ผ่านระบบ 1555 ส่วนใหญ่เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญ ก่อให้เกิดผลกระทบ
เฉพาะตัว ผู้ร้องหรือครอบครัวคนใกล้ชิดและต้องการการแก้ไขเร่งด่วนหรือเฉพาะหน้า ซึ่งแตกต่าง
กับแนวคิดการมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบที่กลุ่ม ๕ เสนอ ซึ่งเป็นแนวทางที่มุ่งเน้นให้ประชาชนแสดง
ความคิดเห็น เพื่อนำไปประกอบการ วางแผนการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร โดยรับฟง ั
ความคิดเห็น เพื่อนำไปวางแผนการตรวจสอบการ ดำเนินการ (Performance Audit) โดยใช้เกณฑ์
ว่า “เรื่องที่ร้องขอต้องเป็นประโยชน์สาธารณะ” และส่งผล กระทบในวงกว้างเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม
สำนักงานตรวจสอบภายในควรวิเคราะห์ประเด็นเรื่องร้องทุกข์จากระบบ 1555 เพื่อนำมาใช้เป็น
ข้อมูลในการกำหนดประเด็นสาธารณะเพื่อให้ประชาชนพิจารณาคัดเลือกผ่านระบบ สารสนเทศการ
ตรวจสอบฯ ในแต่ละปี
4. แนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของประเทศอื่น พบว่าประเด็นสำคัญที่ใช้เป็น
หลักเกณฑ์สำคัญ ในการเลือกเรื่องหรือประเด็นที่ตรวจสอบ คือ ประชาชนผู้แสดงความคิดเห็นหรือ
ร้องขอให้ตรวจสอบ ต้องระบุให้ ได้ว่า เรื่องที่เสนอหรือร้องขอเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์
สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ในวงกว้าง โดยใช้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน
(Performance Audit) เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับ ประโยชน์ที่ได้รับการจากการเปิดโอกาสให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ คือ พัฒนาบริการของภาครัฐและ เสริมสร้างความโปร่งใสให้กับ
การดำเนินการของภาครัฐ