Page 152 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 152
140
การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้วย การประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของ
กระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแล อย่าง เป็นระบบและเป็นระเบียบ” ซึ่ง
การปรับปรุงการตรวจสอบจำเป็นให้เพิ่มกลุ่มวิชาการและแผนงาน มาเพื่อทำ หน้าที่ด้านการให้
คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจและพัฒนาวิธีการและระบบการตรวจสอบภายในให้ทันกับเทคโนโลยี ที่
เปลี่ยนแปลงไป
จากเหตุผลดังกล่าวกองตรวจสอบภายในจึงได้ขออนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและบทบาทของ
หน่วยงาน เพื่อให้ทันต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งหวังให้การปฏิบัติงานตรวจสอบ
ภายในเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดความคุ้มค่า ซึ่งจะส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครมีระบบ
การตรวจสอบภายในที่เข้มแข็ง การปฏิบัติงานโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ สอดคล้องกับแนวทางการ
บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และทำให้เกิด การพัฒนายิ่งขึ้นต่อไป
ปัจจุบันตามมติ ก.ก. ครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2551 อนุมัติให้ปรับปรุง
โครงสร้าง และกรอบอัตรากำลังของกองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น สำนักงาน
ตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และยกฐานะเป็นส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง โดย
มีผลตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่ง
ส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
67) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สำนักงานตรวจสอบภายใน ได้มีการจัดแบ่งส่วนราชการตามภารกิจ ออกเป็น 4 ส่วน
ราชการ ได้แก่
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
(2) กลุ่มพัฒนางานตรวจสอบภายใน
(3) ส่วนตรวจสอบภายใน 1 ประกอบด้วย
(3.1) กลุ่มตรวจสอบการบริหารการคลัง
(3.2) กลุ่มตรวจสอบการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และ
(3.3) กลุ่มตรวจสอบการสาธารณูปโภคและป้องกันภัย และ
(4) ส่วนตรวจสอบภายใน 2 ประกอบด้วย
(4.1) กลุ่ม ตรวจสอบการศึกษาและสังคม และ
(4.2) กลุ่มตรวจสอบสำนักงานเขต