Page 70 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 70
๖๔
ฝรั่งเศสกับความสนใจเอกสารไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดยปกติแล้ว นักประวัติศาสตร์ นักเรียนประวัติศาสตร์และผู้ศึกษาทั่วไปจะได้รับประโยชน ์
จากข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ที่เรียบเรียงขนโดยชาวต่างประเทศ ซึ่งอาจใช้ในการตรวจสอบความ
ึ้
ิ
ถูกต้องของการบันทึกประวัตศาสตร์ไทยตามแบบจารีต เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่าเอกสารที่เรียบเรียง
้
ั
ขึ้นด้วยมุมมองของชาวตะวันตกจะมีขนบการบนทึกขอมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ได ้
ละเอียดมากกว่าการจดบันทึกของชาวสยามและมิได้มุ่งเน้นที่จะบันทึกเรื่องราวของกลุ่มบุคคลชนชั้น
ี
ใดชนชั้นหนึ่งแต่เพียงฝุายเดียว ประโยชน์ดังกล่าวส่งผลให้เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิถชีวิต การดํารงอยู่
ของชนชั้นอื่น ๆ ในสังคมจากเอกสารต่างชาติ ซึ่งจะบันทึกสิ่งที่พบเห็นและการให้ความสนใจต่อ
วัฒนธรรมที่ “แปลกใหม่”
ในบทความนี้ผู้เขียนจะนําเสนอความสนใจบางประการของชาวฝรั่งเศสในสมัยอยุธยา
ึ
โดยเฉพาะเรื่องภาษาไทยและเอกสารภาษาไทย ซึ่งจะเลือกศกษาความสนใจของท่านสังฆราชลาโน,
นิโคลาส์ แชร์แวส และลาลูแบร์ ทั้งนี้ผลสรุปที่จะปรากฏต่อไปจะนําไปสู่การคลี่คลายของข้อ
สมมติฐานที่ว่าเหตุใดที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสจึงเป็นแหล่งข้อมูลเอกสารไทยท ี่
สําคัญแห่งหนึ่งและเก็บรักษาเอกสารภาษาไทยในสมัยศตวรรษที่ ๑๗ ไว้จํานวนหนึ่งด้วย
๑. สังฆราชแห่งเมเตโลโปลิส หลุยส์ ลาโน (Louis LANEAU, L’Evêque de
Metellopolis)
สังฆราชแห่งเมเตโลโปลิส หลุยส์ ลาโน (Louis LANEAU, L’Evêque de Metellopolis) นับ
ั
ได้ว่าเป็นมิชชนนารีฝรั่งเศสรุ่นบุกเบิกงานเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสยาม ท่านลาโนเกิดเมื่อวันที่ ๓๑
พฤษภาคม พ.ศ.๒๑๘๑/ค.ศ.๑๖๓๘ บวชเป็นพระในนิกายเจซูอิต และเดินทางเข้ามาถึงสยามเมื่อวันที่
๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๒๐๗ ขณะมีอายุ ๒๖ ปี เมื่อตั้งถนฐานอยู่ในสยามแล้วได้ทํางานรับใช้พระศาสนา
ิ่
อย่างเต็มความสามารถ พร้อมกับได้ศึกษาภาษาสยามทั้งการพูด-เขียนในระดับสูง จนสามารถใช ้
ทักษะทั้ง ๒ ได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านลาโนได้รับการอภิเษกเป็นสังฆราชเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๒ แทน
[๑]
ตําแหน่งเดิมที่ว่างลง
สังฆราชท่านนี้นับได้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจในภาษาไทยเป็นพิเศษ อาเดรียง โลเนย์
(Adrien LAUNAY) ระบุว่าท่านเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและศาสนาของชาวสยามอย่างลึกซึ้งโดย
ศึกษาจากพระสงฆ์ที่มีความเชี่ยวชาญที่สุดของเมืองอยุธยา พระสังฆราชลาโนได้แต่งต าราไวยากรณ์
และพจนานุกรมสยาม-ละตินขึ้นอย่างละหนึ่งเล่ม” ซึ่งควรนับได้ว่าเป็นหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเล่ม