Page 75 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 75

๖๙


               การแต่งตั้งเป็นออกเมืองเสียก่อน แล้วจึงจะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเขาเรียกว่า เจ้า

               เมือง (Tchaou-Meuang, Seigneur de Ville) ต่อภายหลัง”


                       ความสนใจเรื่องไวยากรณ์สยามและภาษาสยามดูจะเป็นประเดนที่โดดเด่นของเอกอัครราชทูต
                                                                                ็
                                          ั
               ท่านนี้ กระทั่งได้ระบุไว้ในหนงสือว่า “ในท้ายหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าจะได้น าตัวอักษรสยามและอักษร
               บาลีมาแสดงไว้ให้เห็น และนั่นแล้วดูเหมือนจะได้ประมวลไวยากรณ์ของเขาเข้าไว้ทั้งหมด”


                       ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าในเมื่อลาลูแบร์มีความสนใจภาษาสยามมากเช่นนี้ น่าจะได้มีโอกาสเห็น

               หรือคัดลอกเอกสารภาษาสยามกลับไปประเทศฝรั่งเศสบ้าง เมื่อศึกษางานเขียนในส่วนที่ว่าด้วยระบบ

               การปกครองและตําแหน่งต่าง ๆ ของขนนางในราชสํานักก็พบว่า ลาลูแบร์ ได้เอกสารสยามจํานวน
                                                   ุ
               หนึ่งกลับไปประเทศฝรั่งเศสด้วย นั่นคือ “กฎหมายสยาม” ดังที่เขาระบุว่า “กฎหมายสยามนั้นจารึก

               ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสมุด ๓ เล่ม เล่มแรกชื่อ พระต ารา (Pra Tam Ra) ระบุนาม, ต าแหน่ง

               และหน้าที่ราชการของขุนนางทุกกอง เล่มสองชื่อ พระธรรมนูญ (Pra Tam Non) รวบรวมกฎหมาย

               พระราชกฤษฎีกาของพระมหากษัตริย์ในอดีตเข้าไว้ และเล่มที่สามชอ พระราชก าหนด (Pra Rayja
                                                                             ื่
                                                                          ิ
               Canmanot) รวบรวมกฎหมายและพระราชกฤษฎีกาครั้งแผ่นดนพระชนกนาถกับพระเจ้าอยู่หัวใน
               รัชกาลปัจจุบันเข้าไว้” แต่ความต่อไปเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง กล่าวคือ “ไม่มีอะไรจะยากเท่าการได้มาซึ่ง

               ส าเนาอันถูกต้องของสมุดกฎหมายทั้ง ๓ เล่มนเพื่อที่จะบรรยายให้ทราบถึงธรรมนูญการปกครองของ
                                                          ี้
                                                                                                     ี่
               อาณาจักรสยามได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ข้าพเจ้าก็พากเพียรได้มาซึ่งฉบับแปล ด้วยหาฉบับทเป็น
               ภาษาสยามไม่ได้ (ซึ่งจะให้ได้มาจริงๆ แล้ว) จะต้องอยู่ในประเทศสยามให้นานกว่านี้ และต้องไม่ค่อยมี


               ธุระปะปังอะไรมากนักด้วย...”


                       มิเชล ฌาคแอร์กูลอาร์ช ซึ่งได้ศึกษาผลงานของลาลูแบร์ อธิบายว่าชื่อกฎหมายทั้ง ๓ เล่ม

               ตามที่ลาลูแบร์ระบุนั้นคงจะถ่ายเสียงได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่เนื้อความของเอกสารแต่ละฉบับ

               น่าจะคลาดเคลื่อนไปจากความจริงบ้าง กล่าวคือ พระตําราคงเป็นสรรพตําราอื่น ๆ ที่มีเนื้อความ
               นอกเหนือไปจากชื่อตําแหน่งและหน้าทของขุนนาง พระธรรมนูญอาจเป็นหนังสือว่าด้วย
                                                    ี่

               ประวัติศาสตร์ของอาณาจักร ส่วนพระราชกําหนดคงเป็นหนังสือรวบรวมกฎหมายพระราชกฤษฎีกา
                                                                  [๒๐]
               ตั้งแต่ครั้งแผ่นดนสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นตนมา  ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเอกสารฉบับแปลท       ี่
                              ิ
                                                              ้
               ลาลูแบร์ได้มานั้น อาจเป็นกฎหมายบางฉบับที่ได้รับการแปลโดยบาทหลวงมิชชันนารีฝรั่งเศสที่พํานัก
               อยู่ในสยามมาก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ และคงเป็นกฎหมายต่างๆ ตามตัวบทกฎหมายตราสามดวง เช่น

               กฎหมายพระอัยการกู้หนี้ กฎหมายลักษณะลักพา ฯลฯ แต่ไม่ปรากฏว่ามีเอกสารกฎหมายที่กําหนด

                                                               ุ
               อายุได้เก่าถึงสมัยอยุธยาเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรงปารีส แต่อย่างใด
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80