Page 78 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 78

๗๒


                                         ลักษณะคําประพันธ์บทสวดมาลัย




                       คําประพันธ์ในพระมาลัยกลอนสวด ประกอบด้วยกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และคํา

               ประพันธ์ ซึ่งมีลักษณะบังคับแบบกลอน แต่มีจํานวนคําวรรคละ ๔ คํา แทนที่จะเป็นกาพย์ยานี ๑๑


               กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคณางค์ ๒๘ ดังกลอนสวดทั่วไป ลักษณะคําประพันธ์ดังกล่าวจากตํารา

               ฉันทลักษณ์หลายเล่ม เช่น ฉนทลักษณ์ของพระยาอุปกิตศิลปาสาร, คําภีร์จินดามณี ฯลฯ แต่ไม่
                                         ั
               ปรากฏชื่อ และลักษณะของคําประพันธ์ชนิดน ต่อมาพบคําประพันธ์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ใน
                                                          ี้

               หนังสือภาพนิทานที่จัดพิมพ์โดยองค์การค้าคุรุสภา ที่ให้คํายรรยายโดย กรองแก้ว และกําธร สถิรกุล

               เช่นเรื่อง ฟินอคคิโอ เป็นต้น แต่ผู้บรรยายมิได้แจ้งว่าบรรยายด้วยคําประพันธ์ชนดใด เมื่อเป็นดังนี้ผู้
                                                                                         ิ
               ศึกษาจึงจะขอเรียกในที่นี้ว่า “กลอน ๔”เพราะเหตุทมีลักษณะบังคับแบบกลอน แต่ใช้จํานวนคําวรรค
                                                                ี่

               ละ ๔ คํา อนึ่งนอกจากคําประพันธ์ชนดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว “พระมาลัยกลอนสวด” ยังมีร่าย
                                                  ิ
               แทรกอยู่อีกด้วย คําประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระมาลัยกลอนสวดไม่สู้เคร่งครัดฉนทลักษณ์เท่าใดนัก
                                                                                        ั

               จํานวนคําและสัมผัสไม่คงที่ กวีผู้แต่งมุ่งหมายเอาเนื้อความมากกว่าจะรักษาแบบฉบับคําประพันธ์
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83