Page 67 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 67

๖๑


                       ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ คําว่า "อัจฉริยธรรม" นั้นแปลว่า ธรรมะที่น่า อัศจรรย์ คําว่า

               "อัศจรรย์" แปลว่า ควรปรบมือให้ ควรยกนิ้วให้ว่าดี เลิศ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์

               นั้น มีธรรมควรที่เทวดา มนุษย์จะยกนิ้วให้ ปรบมือให้ว่ายอดเยี่ยมที่สุด


               อัจฉริยธรรมนั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ


               ๑. ปาปะปะฏิกุฏจิตโต มีจิตหดหู่จากบาป คือ จิตของนิยตโพธิสัตว์นั้น ไม่สู้กับความชั่ว ไม่สู้กับบาป

               อกุศล มีแต่ละอายบาป กลัวบาป ละอายชั่ว กลัวชั่ว เกลียดความบาป เกลียดความชั่ว


               ๒. ปะสาระณะจิตโต มีจิตแผ่ออกแต่ความดี คือ เป็นจิตที่เบิกบานต่อ ความดีอยู่เป็นนิจ คอยรับแต  ่

               ความดีอยู่เสมอ มีอาการแผ่ออก ไม่ถอย จากความดี ถ้ายังไม่ถึงจุดมุ่งหมาย เป็นอันไม่หยุดความเพียร

               ไม่ละเลิก ความเพียรเป็นอันขาด


                                                         ้
               ๓.อธิมุตตะกาละกิริยา น้อมใจตาย คือ เมื่อไดเกิดในสวรรค์ที่มีอายุ ยืนนาน ท่านกลัวเสียเวลาสร้าง

               บารมีไปนาน (เพราะในสวรรค์เป็นที่ เสวยสุขเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะได้บําเพ็ญบุญบารมีต่างๆ มี
               น้อย ไม่เหมือนเกิดเป็นมนุษย์- deedi) จึงอธิษฐานขอให้สิ้นชีวิต คําอธิษฐานนั้นว่า "ขออย่าให้ชีวิต

                                                                                                ้
                                                                      ี้
                                                                             ่
               ของข้าพเจ้ามีอยู่ต่อไปเลย" พออธิษฐานเสร็จก็จุติทันที ข้อนถ้าไม่ใชนิยตโพธิสัตว์ทําไม่ได
               ๔. วิเสสะชะนัตตัง ความเป็นคนวิเศษ คือ เป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่นๆ เมื่อนิยตโพธิสัตว์อยู่ใน
                                                           ี่
               ครรภ์มารดาในชาติที่สุด (คือ ชาติสุดท้าย ชาติท จะได้ตรัสรู้- deedi) จะไม่เหมือนคนทั้งหลายคือ คน

               ธรรมดาเรานั้น เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั่งทับอาหารเก่า ทูนอาหารใหม่ของมารดาไว้ ๑ ผินหน้าเข้า
               ข้างหลังมารดา ๑ ผินหลังออกไปข้างหน้ามารดา ๑ นั่งยองๆ เอามือทั้งสอง ค้ําคางไว้ ๑ ส่วนนิยต

               โพธิสัตว์ตรงกันข้ามคือ นั่งอยู่ในที่สะอาด ไม่เปื้อน อะไร ๑ ผินหน้าออกทางหน้ามารดา ๑ นั่งพับ

               พะแนงเชิงเหมือนพระนั่งเทศน์ บนธรรมาสน์ ๑


                                                            ั้
                                                               ู้
               ๕.ติกาลัญํู รู้กาล ๓ นิยตโพธิสัตว์ในชาติที่สุดนน รพระองค์ใน ๓ กาล คือ เมื่อจะจุติจากสวรรค์ลงสู่
               พระครรภ์ ก็รู้ว่าจะจุติลงสู่พระครรภ์ ๑ เวลาที่ อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ก็รู้ว่าอยู่ในพระครรภ์ ๑
               เวลาประสูติจากพระ ครรภ์ก็รู้ว่าประสูติจากพระครรภ์ ๑ ส่วนพระป๎จเจกพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าท   ี่

               ตรัสรู้แต่ไม่ได้ออกสั่งสอนเวไนยสัตว์ ไม่สามารถรื้อถอนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได- deedi) กับพระ
                                                                                         ้
               อัครสาวกทั้ง สอง เป็น ทวิกาลัญํู รู้กาล ๒ คือ เวลาจุติลงสู่ครรภ์ ๑ เวลาที่อยู่ในครรภ์ ๑ อสีต ิ

               มหาสาวกใหญ่ทั้ง ๘๐ เป็น เอกาลัญํู รู้กาลเดียว คอ เวลาจะถือ ปฏิสนธิเท่านั้น
                                                               ื

               นอกจากบุคคล ๓ ประเภทนี้ เป็น อกาลัญํู คือ ไม่รู้กาลทั้งหมดฯ
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72