Page 82 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 82
75
รถจักรยานยนต์เป็นรถใหม่หรือรถมือสอง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยก็จะแตกต่างกันไป
เหตุที่กฎหมายไทยไม่มีการควบคุมอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้ออาจเนื่องมาจากกฎหมายไทย
มองว่าการเช่าซื้อ คือ การที่ผู้ให้เช่าซื้อนำเอาทรัพย์สินออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่าจะขาย
ทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ส่วนผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ในการชำระ
ค่าเช่าซื้อเป็นเงินจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ในขณะที่กฎหมายบางประเทศ เช่น
มาเลเซีย ไนจีเรีย มองว่าสัญญาเช่าซื้อก็คือ การนำรถมาเป็นหลักทรัพย์ประกัน
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ หรือมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินจากไฟแนนซ์แล้วให้ไฟแนนซ์
มีหลักประกันในทรัพย์ที่นำออกให้เช่าซื้อ กล่าวคือ ในสัญญาเช่าซื้อจะประกอบไปด้วย
การที่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในรถจากผู้ให้เช่าซื้อ โดยมีรถเป็น
หลักทรัพย์ประกันการชำระค่าเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ครอบครองและมี
หน้าที่ในการดูแลรักษารถ รวมถึงรับผิดชอบในความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
โดยจะต้องชำระเงินเป็นงวด และเมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์
จึงจะตกแก่ผู้เช่าซื้อ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นผู้เช่าซื้อจึงควรคุ้มครองตั้งแต่แรก
ที่ทำสัญญาโดยต้องไม่คิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป
ประการที่สอง การคืนรถตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อจบหนี้ โดยปกติเมื่อ
ลูกหนี้คืนรถแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะนำรถออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
ค่าเช่าซื้อในส่วนที่ยังขาดราคาตามสัญญา ซึ่งอาจขายไปในราคาต่ำ เพราะสุดท้ายแล้ว
ผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถมาเรียกกับผู้เช่าซื้อได้ แต่เมื่อทวงถามแล้วผู้เช่าซื้อไม่ยอม
ชำระหนี้ค่าขาดราคาดังกล่าว จนกลายเป็นหนี้เสียของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อก็จะ
ขายหนี้เสียดังกล่าวให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ อันเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้
บริษัทบริหารสินทรัพย์ไปเรียกให้ผู้เช่าซื้อรับผิดต่อไป ทำให้ไม่ว่ารถคันที่เช่าซื้อ
ขายทอดตลาดไปนานเพียงใด ผู้เช่าซื้อก็ยังอาจถูกฟ้องคดีเรียกให้ชำระหนี้ตาม
สัญญาเช่าซื้ออีก กลายเป็นปัญหาที่ไม่จบสิ้น ศาลฎีกานำหลักกฎหมายว่าด้วยเรื่อง
การเลิกสัญญาโดยปริยายมาปรับใช้ โดยไม่กำหนดค่าขาดราคาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ
เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 4607/2562 การที่ผู้เช่าซื้อคืนรถและผู้ให้เช่าซื้อรับรถไว้