Page 87 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 87
80
มูลค่าการซื้อขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง
สถานการณ์โควิด-19 ในแต่ละปีมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท มีทั้งการขายผ่าน
เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของตนเอง เช่น Facebook Instagram หรือ LINE
ผู้ประกอบการหรือผู้ขายมีทุกระดับเพราะลงทุนต่ำ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ผู้ซื้อ
ส่วนใหญ่ไม่รู้จักผู้ขายและเป็นการซื้อสินค้าที่ไม่ได้มีโอกาสทดลองหรือทดสอบ
สินค้าก่อน จึงเกิดปัญหาตามมาหลายประการ เช่น ได้รับสินค้าไม่ตรงตามโฆษณา
ไม่มีคุณภาพ หรือชำรุดบกพร่องเกิดการโฆษณาหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
เมื่อขอคืนสินค้าหรือเลิกสัญญามักพบกับความยุ่งยาก บางครั้งไม่ได้รับเงินคืนหรือ
ได้รับเงินล่าช้า ปัจจุบัน การขายสินค้าออนไลน์อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ขายตรงและตลาด
แบบตรง พ.ศ. 2545 ซึ่งมีบทบัญญัติคุ้มครองผู้ซื้อหลายประการ เช่น
้
(1) ผู้ขายต้องจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุมครอง
ผู้บริโภค
(2) ผู้ขายต้องทำเอกสารการซื้อขายส่งมอบแก่ผู้ซื้อโดยระบุถึง
สิทธิที่จะเลิกสัญญาและวิธีคืนหรือเปลี่ยนสินค้า
(3) ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาภายใน 7 วันนับแต่ได้รับสินค้า
(4) ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าจนกว่าจะได้รับเงินคืน
(5) ผู้ขายต้องคืนเงินภายใน 15 วันนับแต่ได้รับหนังสือบอก
เลิกสัญญา
แต่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบถึงสิทธิของตนเอง
หรือไม่สามารถใช้สิทธิได้เนื่องจากผู้ขายไม่รับผิดชอบหรือสร้างกระบวนการที่
ยุ่งยาก
แนวทางแก้ไข :
(1) การสร้างความเข้าใจให้สังคมทราบถึงสิทธิของผู้บริโภค
(2) การสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม (Code of Conducts)
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์