Page 122 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 122

´ØžÒË





                         B.  เงื่อนไขตางๆ ของการขังในระหวางการสืบสวนสอบสวนตาม

                 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน


                         ในกรณีนี้ตองแยกขอแตกตางระหวางเงื่อนไขของการรองขอใหมีการขังในระหวาง
                 สืบสวนสอบสวนในทางเนื้อหาออกจากเงื่อนไขดังกลาวในทางรูปแบบ ซึ่งในบทความนี้จะเนน

                 ในสวนของเงื่อนไขดังกลาวในทางเนื้อหา

                         I  เงื่อนไขของการรองขอใหมีการขังระหวางสืบสวนสอบสวนในทางเนื้อหา


                         เงื่อนไขในทางเนื้อหาของการออกหมายขังระหวางสืบสวนสอบสวนจะเกิดขึ้น
                 ก็ตอเมื่อมีความสงสัยตามควรวามีการกระทําความผิดเกิดขึ้นและในขณะเดียวกันก็จะตองมี

                 เหตุแหงการออกหมายจับตามที่กําหนดไวในกฎหมายเหตุใดเหตุหนึ่งดวย นอกจากนี้
                 ในการออกหมายขังระหวางสืบสวนสอบสวน – ก็เชนเดียวกับกรณีอื่นๆ ของการที่อํานาจรัฐ

                 รุกลํ้าเขาไปในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน – กลาวคือ ตองคํานึงถึงหลักสัดสวนดวย

                         เงื่อนไขตางๆ ตามกฎหมายของการรองขอใหมีการขังในระหวางสืบสวนสอบสวน

                  บัญญัติไวในมาตรา ๑๑๒ – มาตรา ๑๑๔ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในลําดับ

                 ถัดไปจะไดกลาวถึงเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการ ตามลําดับไป


                         ๑.  ความสงสัยตามควรวามีการกระทําความผิด (Dringender Tatverdacht)


                         ในประการแรก ความสงสัยตามควรวามีการกระทําความผิดนั้นถือเปนระดับ
                 ของความสงสัยขั้นสูงสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมันและถือวา

                 เปนกรณีของความสงสัยตามควรวามีการกระทําความผิดเมื่อมีความเปนไปไดอยางมาก
                 ที่ผูถูกกลาวหาวากระทําความผิดจะไดกระทําความผิดอาญา หลักสําคัญที่ใชในการพิจารณา

                 ในประเด็นนี้ก็คือผลที่ไดจากการสืบสวนสอบสวนเทาที่มีอยูในปจจุบันจะเปนตัวในการกําหนด
                 วาจะออกหมายขังในระหวางสืบสวนสอบสวนหรือไม ซึ่งมีความหมายวาการสืบสวนสอบสวน

                 ยังไมจําเปนที่จะตองเสร็จสิ้นแตประการใด

                         ดวยเหตุนี้ การขังในระหวางการสืบสวนสอบสวน จึงเรียกรองวาจะตองมีระดับของ

                 ความนาสงสัยที่มากกวาในกรณีของการยื่นคําฟอง (มาตรา ๑๗๐ (๑) ประมวลกฎหมาย
                 วิธีพิจารณาความอาญา) และกรณีของการประทับฟอง (มาตรา ๒๐๓ ประมวลกฎหมาย





                 มกราคม - เมษายน ๒๕๖๑                                                       ๑๑๑
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127