Page 18 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 18
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 7
หมายเหตุ
พ.ร.ป. ป.ป.ช ที่แก้ไขใหม่บัญญัตินิยามค าว่า “ร่ ารวยผิดปกติ” ให้หมายความ
รวมถึงกรณีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติด้วย แตกต่างจาก พ.ร.ป. ป.ป.ช. เดิม ที่นิยามค าว่า ร่ ารวย
ผิดปกติ กับทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติแยกกันไว้
1.2 คดีที่คณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่ากรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ร่ ารวย
ผิดปกติทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อ านาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมาย (พ.ร.ป. วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (2) และ พ.ร.ป. ป.ป.ช. มาตรา 44 และ
มาตรา 45)
1.3 คดีที่มูลคดีเป็นการกล่าวหาว่าบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม พ.ร.ป.
วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (1) และ (2) เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระท าความผิด
ทางอาญาตามมาตรา 10 (1) หรือ (2) รวมทั้ง ผู้ให้ ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้ ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามมาตรา 10 (1) หรือ (2) เพื่อจูงใจให้กระท าการ ไม่กระท าการ
หรือประวิงการกระท าอันมิชอบด้วยหน้าที่ (พ.ร.ป. วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (3) และ พ.ร.ป.
ป.ป.ช. มาตรา 30)
1.4 คดีที่บุคคลตาม พ.ร.ป. วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (1) หรือ กรรมการ
ป.ป.ช หรือเจ้าหน้าที่ของส านักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตาม
มาตรา 57 วรรคสอง รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และ
สมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก าหนด จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน
และหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิด
ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มา
แห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน (พ.ร.ป. วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (4) และ พ.ร.ป. ป.ป.ช. มาตรา 23,
28, 43, 102, 113 และ 114)
หมายเหตุ
พ.ร.ป. วิ. การเมืองฯ มาตรา 10 (1) บัญญัติให้ ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง
คือผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองเฉพาะที่ระบุไว้ใน พ.ร.ป. ป.ป.ช. ซึ่งตามมาตรา 4 คือ บุคคล
ซึ่งด ารงต าแหน่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 4 และตาม
พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 มาตรา 92 (1) ถึง (24) มีดังต่อไปนี้