Page 22 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 22

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 11



                     กระท าการ ไม่กระท าการหรือประวิงการกระท าอันมิชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่กรณีที่

                     คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรอาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีอ านาจและหน้าที่

                     เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงาน

                     สอบสวน ด าเนินการแทนก็ได้ ซึ่งนับแต่รัฐธรรมนูญฯ ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ ๖ เมษายน

                     ๒๕๖๐ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ปช ๐๐๒๘/๐๓๔๑ ฉบับลงวันที่ ๒๑ กันยายน


                     ๒๕๖๐ มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอ านาจไต่สวนและวินิจฉัยเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่

                     ของรัฐระดับต่ ากว่าผู้อ านวยการกอง ส่วนกรณีที่ได้รับเรื่องไว้ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฯ ประกาศใช้

                     บังคับเห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ด าเนินการต่อไป ภาคผนวก 2

                                            หมายเหตุ

                                            (๑) ความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๙, ๑๔๐, ๑๔๓ และความผิดตาม


                     พ.ร.บ. ป.ป.ง. เป็นคดีทุจริตฯ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งฯ มาตรา ๓ (๒) และ (๓) ซึ่งอยู่ในอ านาจสอบสวน

                     ของพนักงานสอบสวน

                                            (๒) ก่อนแก้ไข พ.ร.ป. ป.ป.ช. และรัฐธรรมนูญฯ คณะกรรมการ ป.ป.ช.

                     มีอ านาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระท าความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง ส่วน

                     คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอ านาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระท าความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                     ระดับทั่วไป (ต่ ากว่าผู้อ านวยการกอง/ทหารหรือต ารวจยศ พ.ท. หรือ พ.ต.ท. ลงมา)

                                      5.1.5 ผู้เสียหาย


                                      ผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอ านาจฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐได้โดยตรง


                                      ข้อสังเกต

                                      ๑. ป.อ. มาตรา ๑๕๗ มีการกระท าความผิด ๒ ลักษณะ ลักษณะแรก

                     ผู้กระท าต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด การกระท าความผิดตาม


                     ลักษณะนี้บุคคลที่ได้รับความเสียหายย่อมเป็นผู้เสียหายได้ ส่วนลักษณะที่สอง ผู้กระท าต้องมี

                     เจตนาพิเศษโดยทุจริต ซึ่งการกระท าความผิดตามลักษณะนี้รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย (ฎีกาที่

                     ๗๐๓๐/๒๕๕๑, อุทธรณ์แดงที่ ๑๔๙๓๖/๒๕๖๐ ระหว่างนางสาวรสนา โจทก์ นายสุพจน์

                     จ าเลย, อุทธรณ์แดงที่ ๖๘๙๔/๒๕๖๑ ระหว่างพันโทแพทย์หญิงกมลพรรณ โจทก์ นายวีระศักดิ์

                     จ าเลย)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27