Page 20 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 20
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 9
2. คดีที่อยู่ในอ านาจของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและ
ครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ ซึ่งบัญญัติว่า
“ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอ านาจพิจารณาพิพากษาหรือมีค าสั่งในคดีดังต่อไปนี้
(๑) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระท าความผิด
(๒) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอ านาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา ๙๗
วรรคหนึ่ง
(๓) คดีครอบครัว
(๔) คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ
(๕) คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอ านาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและ
ครอบครัว”
3. ส าหรับคดีที่อยู่ในอ านาจพิจารณาของศาลช านัญพิเศษอื่น ได้แก่ คดีที่อยู่ใน
อ านาจของศาลแรงงาน ศาลภาษีอากรกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง
ประเทศ ศาลล้มละลายกลาง ยังเป็นเพียงความเห็นว่าไม่อยู่ในอ านาจของศาลอาญาคดีทุจริตฯ
แต่ยังมีข้อโต้แย้งจากบางฝ่าย ดังนั้น หากมีการฟ้องคดีที่อยู่ในอ านาจของศาลช านัญพิเศษ
รวมมากับคดีทุจริตฯ ให้ส่งประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งฯ มาตรา ๑๑ โดย
ปฏิบัติตามคู่มือแนวปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาคผนวก 1 (แนวปฏิบัติในการเสนอ
ปัญหาให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย)
5. คู่ความในคดี
5.1 ผู้มีอ านาจฟ้องคดี
ผู้มีอ านาจฟ้องคดี ได้แก่ อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้เสียหาย
5.1.1 อัยการสูงสุด
กรณีอัยการสูงสุดฟ้องคดีจะพิจารณาส านวนการไต่สวนที่มาจาก
คณะกรรมการ ป.ป.ช. (ทางปฏิบัติอัยการสูงสุดจะมอบอ านาจให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง)