Page 21 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 21
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 10
5.1.2 พนักงานอัยการ
กรณีพนักงานอัยการฟ้องคดีจะพิจารณาส านวนการไต่สวนที่มาจาก
คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวน
5.1.3 ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มีอ านาจฟ้องเพียงอัยการสูงสุด ตาม พ.ร.ป.
ป.ป.ช. มาตรา ๙๕
5.1.4 คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีอ านาจฟ้องคดีก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่กล่าวหาว่า
เจ้าหน้าที่ของรัฐตามต าแหน่งที่ระบุไว้ใน พ.ร.ป. ป.ป.ช. มาตรา 4 กระท าความผิดฐานทุจริต
ต่อหน้าที่ กระท าความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระท าความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่
ในการยุติธรรมหรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า
มีความผิดทางอาญา ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องส่งรายงานส านวนการไต่สวน เอกสาร
หลักฐาน ส าเนาอิเล็กทรอนิกส์ และค าวินิจฉัย ไปยังอัยการสูงสุดภายใน 30 วัน เพื่อฟ้องคดีอาญา
ต่อศาลที่มีเขตอ านาจภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับส านวน แต่ถ้าอัยการสูงสุด เห็นว่า
ส านวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน ส าเนาอิเล็กทรอนิกส์ และค าวินิจฉัย ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะ
ด าเนินคดีได้ และมีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานร่วมกันแล้ว แต่ยังไม่อาจ
หาข้อยุติได้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอ านาจฟ้องคดีเองโดยพิจารณามอบหมายให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ด าเนินคดีแทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือจะพิจารณาแต่งตั้งทนายความเพื่อด าเนินคดี
แทนตาม พ.ร.ป. ป.ป.ช. มาตรา 77, 80, 91, 92 และ 93
ข้อสังเกต
ตาม พ.ร.ป. ป.ป.ช. มาตรา ๔, ๒๘, ๓๐, ๖๑, ๖๒, ๖๓, 65 และรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓๔ (๒) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอ านาจ
หน้าที่ในการไต่สวนและวินิจฉัยการกระท าความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระท าความผิดต่อ
ต าแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระท าความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่
ของรัฐทุกระดับต าแหน่ง รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน หรือผู้ให้ ผู้ขอให้
หรือรับว่าจะให้หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจูงใจให้