Page 23 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 23

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 12



                                      ๒. เดิม ป.อ. ไม่มีบัญญัตินิยามค าว่า “เจ้าพนักงาน” ไว้ ต่อมาปี ๒๕๕๘

                                                                                             2
                     จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามค าว่า “เจ้าพนักงาน” ตาม ป.อ. มาตรา ๑ (๑๖)  โดยน าหลักใน
                     ค าพิพากษาศาลฎีกาหลายฉบับมาบัญญัติไว้ให้เป็นรูปธรรม แต่มีแนวค าพิพากษาศาลฎีกา

                     บางเรื่องให้ความส าคัญต่อการได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่าย

                     หมวดเงินเดือนมาเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยความเป็นเจ้าพนักงาน แต่ตามนิยามกฎหมายใหม่


                     ไม่จ าต้องพิจารณาว่าได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น หลักในค าพิพากษาศาลฎีกาหลาย ๆ ฉบับ

                     ที่ไม่ได้วินิจฉัยในส่วนของค่าตอบแทนจึงยังคงใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไปได้

                                      ๓. บุคลากรในมหาวิทยาลัยนอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่มีฐานะ

                     เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ (อุทธรณ์แดงที่ ๓๓๔๕/๒๕๖๑ ระหว่างนายสุกรี โจทก์

                     นายบรรจง จ าเลย, อุทธรณ์แดงที่ ๓๑๓๑/๒๕๖๐ ระหว่างนางศันสนีย์ โจทก์ นายบรรจง


                     จ าเลย) และถ้าศาลยกฟ้องเพราะไม่ใช่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. แล้ว หากน าคดีมาฟ้องใหม่ว่าเป็น

                     “พนักงาน” ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒

                     ถือว่าเป็นฟ้องซ้ า (อุทธรณ์แดงที่ ๔๓๐๗/๒๕๖๑ ระหว่างนายสุกรี โจทก์ นายบรรจง จ าเลย)

                                      ๔. ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นจ าเลยได้ (ฎีกาที่

                     ๑๖๗๘๑/๒๕๕๗, อุทธรณ์แดงที่ ๑๘๑๕/๒๕๖๑ ระหว่างนายนิพิฐ โจทก์ นางสาวสุภา จ าเลย)

                                      ๕. โจทก์ส่งมอบเงินให้แก่จ าเลย เพื่อให้น าไปมอบให้แก่บุคคลที่สามารถ

                     ช่วยเหลือบุตรโจทก์ให้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นข้าราชการต ารวจได้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้

                     จ าเลยกระท าความผิด โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอ านาจฟ้อง ตาม ป.อ. มาตรา 143

                     (ฎีกาที่ ๒๐๗๗/๒๕๖๐)

                                            หมายเหตุ

                                            ฎีกาที่ ๖๐๔๖/๒๕๖๐ วางหลักว่า ในกรณีที่ผู้เสียหาย “ถูกหลอก”

                     ให้ส่งมอบเงิน เพื่อน าไปมอบให้แก่บุคคลที่สามารถช่วยเหลือให้สอบเข้ารับราชการได้ กรณี

                     ดังกล่าวถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในการกระท าความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑, ๓๔๓


                     (ตามฎีกาโจทก์ไม่ได้ฟ้องข้อหาตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๓)






                            2  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28