Page 17 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 17

16


                         6.  ค่าสูงสุดและตํ่าสุด (Maximum and Minimum Value) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มักให้
               ความสำคัญกับการหาค่าสูงสุดและตํ่าสุด การหาค่าดังกล่าวสามารถทำได้โดยวิธีแคลคูลัสและโดยอาศัย
               รูปกราฟ
                         นอกจากนี้การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ยังได้อาศัยการอธิบายภาวะดุลยภาพ (Equilibrium) เพื่อ

               ประโยชน์ในการอธิบายสภาวะที่เป็นไปในท้ายที่สุดของการปรับตัว และเป็นหลักในการคาดคะเนทิศทางการ
               เปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ โดยดุลยภาพในทางทฤษฎีหมายถึง สภาวะบางส่วนหรือทังหมดของ
               ระบบเศรษฐกิจที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่เคยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมีความพอดี อยู่ในภาวะสมดุลโดยตัวแปรต่าง

               ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง แต่โดยทั่วไปตัวแปรดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ
               ตลอดเวลา ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริงจึงมักไม่อยู่ในภาวะสมดุล เป็นแต่เพียงการวิ่งเข้าหาภาวะสมดุลที่
               ผันแปรอยู่เสมอเท่านั้น


               8. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
                      วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ ทำให้ทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาทาง
               เศรษฐกิจได้อย่างมีเหตุผล ดังนั้น วิชานี้จึงมักเป็นวิชาพื้นฐานของการศึกษาในแขนงวิชาอื่น ๆ ประโยชน์ของ

                                            ั
               วิชาเศรษฐศาสตร์สามารถสรุปได้ดงนี้
                           1. ช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุมีผล เพราะมนุษย์จะต้อง
               ตัดสินใจในกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดเวลา เช่น ซื้อสินค้าอะไรมาบริโภค จำนวนเท่าใด ซื้ออะไรก่อนอะไร
               หลัง การตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์จะช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นปกติสุข

                           2. เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจและอาชีพอิสระ เช่น นักการธนาคาร
               นักบัญชี นักปกครอง ผู้จัดการบริษัท ทนายความ นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
                           3. หน่วยธุรกิจสามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น สามารถคาดการณ์ภาวะ

               เศรษฐกิจในอนาคตได้ถูกต้อง ทำให้การวางแผนเกี่ยวกับการลงทุน การผลิต การกำหนดราคาเป็นไปอย่างมี
               ประสิทธิภาพ
                           4. ในแง่ของส่วนรวม ถ้าประชาชนมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะสามารถประกอบอาชีพในอันที่
               จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวม หรือในกรณีที่ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาลก็
               จะได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างดี ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นผ่อนคลายไปในทางที่ดีได้รวดเร็วขึ้น

                           5. เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ เข้าใจกฎเกณฑ์และสถาบันทางเศรษฐกิจที่มนุษย์ตั้งขึ้น ทำให้เกิด
                                                                     ู่
               แนวทางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมเศรษฐกิจที่ตนอาศัยอยให้มีความเจริญยิ่งขึ้น
                           6. ในแง่ของรัฐบาล ทำให้ผู้บริหารประเทศเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัย สภาวะแวดล้อม

               และสภาวะทางเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่ โดยจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ไขในส่วนที่เป็น
               ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมทั้งวางแผนส่งเสริมและพัฒนาให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าและมี
               เสถียรภาพต่อไป
                           สรุป วิชาเศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึงการเลือกทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ใน

               การผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และหาทางแจกจ่ายหรือกระจายสินค้า
               และบริการออกไปเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีความต้องการไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุดและมี
               ประสิทธิภาพมากที่สุด บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ วิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งการศึกษาออกเป็น
               เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรมทาง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22