Page 12 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 12
11
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy System) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะ
ผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง ทั้งรัฐบาลและ
เอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกลไก
ราคาจะมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรและจัดสรรผลผลิต แต่จะมีบทบาทน้อยกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุน
นิยมเนื่องจากมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจหลายฝ่าย เช่น สหภาพแรงงาน สมาคมการค้าและธุรกิจ กลุ่ม
เหล่านี้มีอิทธิพลและอำนาจผูกขาดบางส่วน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจผลิต การลงทุน การจัดสรรทรัพยากร เป็น
ต้น
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้มีการเลือกเครื่องมือเพื่อใช้
ในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับกิจกรรม เพราะเป็นระบบที่ใช้ทั้งกลไลราคาและการ
วางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีและข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ข้อดี มีดังน ี้
การดำเนินการมีความคล่องตัว เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของสภาพเศรษฐกิจได้
การอาศัยกลไกราคาเพื่อจูงใจให้เอกชนทำการลงทุนและทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อลดภาระของรัฐบาล
แต่ถ้าการดำเนินการของเอกชนไปถึงระยะหนึ่งที่รัฐบาลเห็นว่าถ้ายังคงให้เอกชนดำเนินการต่อไปอย่างอิสระ
อาจเกิดปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนได้ รัฐบาลก็จะเข้ามาดำเนินการควบคุมหรือออกกฎข้อบังคับ
หรือกฎหมาย และเมื่อใดที่รัฐบาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปกำกับก็จะปล่อยให้เอกชนดำเนินการ
ต่อไป
ข้อเสีย มีดังนี้
เอกชนอาจขาดแรงจูงใจในการดำเนินการ เพราะเอกชนมีความรู้สึกว่าการเข้ามาดำเนินการต้อง
เสี่ยงกับความไม่แน่นอนจากนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายและการใช้อำนาจต่าง
ๆ ทำให้เอกชนขาดความมั่นใจในการลงทุน การดำเนินการผลิตขนาดใหญ่ของรัฐบาลมักจะขาดประสิทธิภาพ
เมื่อเทียบกับเอกชน กล่าวคือ คุณภาพจะไม่เท่าเทียมกับที่เอกชนผลิตขึ้น
7. เครื่องมือประกอบการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
ในการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจที่ตรงกัน นักเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องใช้
เครื่องมือทางคณิตศาสตร์บางอย่างเข้ามาช่วย นอกเหนือจากการอธิบายโดยวิธีพรรณนา ดังนั้น จึงควรทำ
ความเข้าใจเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ฟังก์ชัน สมการ กราฟ ความชัน ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าหน่วย
เพิ่ม
รวมทั้งค่าสูงสุด-ค่าตํ่าสุด ก่อนที่จะได้ทำการศึกษาต่อไป ในที่นี้จะอธิบายเครื่องมือต่าง ๆ คร่าว ๆ
โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของตัวแปรเพียงสองตัวเท่านั้น เพื่อไม่ให้ยุ่งยากเกินไปและสามารถเข้าใจทฤษฎีในบท
ต่อ ๆ ไปได้
1. ฟังก์ชัน (Function) หมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยสามารถแสดง
ในรูปคณิตศาสตร์ได้ เช่น
Y = f(X)