Page 13 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 13
12
นั่นคือ Y เป็นฟังก์ชันของ X หมายความว่า ค่าของ Y ขึ้นอยู่กับค่าของ X เมื่อค่าของ X
เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จึงเรียกตัวแปร Y ว่าตัวแปรตาม (Dependent
Variable)เพราะมีค่าเปลี่ยนแปลงตามค่าของ X และเรียกตัวแปร X ว่าตัวแปรอิสระ (Independent
Variable)เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าของตัวแปรใดๆ
การใช้ฟังก์ชันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น ฟังก์ชันอุปสงค์แสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องการซื้อ (Qx) และปัจจัยอื่น ๆ เช่น ราคาสินค้าชนิดอื่น (PY)
รายได้ (Y) รสนิยม (T) เป็นต้น สามารถเขียนเป็นฟังก์ชันอุปสงค์ได้ดังนี้
Qx = f(Px, Py, Y, T)
ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะบอกเพียงว่า ค่าของตัวแปรใดขึ้นอยู่กับค่าของตัวแปรใด หากต้องการ
แสดงความสัมพันธ์ที่แน่นอนจะต้องแสดงความสัมพันธ์ในรูปของสมการเพื่อถอดหาค่า เช่น Y = 4X
หมายความว่า ค่าของ Y จะเป็น 4 เท่าของค่า X เสมอ
2. สมการ (Equation) ฟังก์ชันจะแสดงให้เห็นว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กันเท่านั้น แต่ไม่ได้
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เฉพาะเจาะจง กล่าวคือ ถ้าต้องการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆอย่างแน่
ชัดต้องแสดงโดยใช้สมการ ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะสมการเส้นตรง (Linear Equation) เท่านั้น รูปทั่วไปของ
สมการเส้นตรงเมื่อ Y = f(X) คือ
Y = a + bX
เมื่อ a คือ ค่าของ Y เมื่อ X มีค่าเท่ากับศูนย์ หรืออาจเรียกว่าส่วนตัดแกนตั้ง หรือแกน Y
b คือ ค่าการเปลี่ยนแปลงของ Y เมื่อ X เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย โดยเครื่องหมายข้างหน้า b
์
จะเป็นเครื่องหมายแสดงความสัมพันธของ X และ Y ถ้าเครื่องหมายบวก แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์ไป
ในทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อค่าของ X เพิ่มขึ้นค่าของ Y จะเพิ่มขึ้นด้วย และถ้าค่าของ X ลดลงค่าของ Y ก็จะ
ลดลง แต่ถ้าเครื่องหมายลบ แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์ไปในทางตรงข้ามกัน กล่าวคือ เมื่อค่าของ X
เพิ่มขึ้น ค่าของ Y จะลดลง และถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Y จะเพิ่มขึ้น
สมมติว่า สมการการบริโภค คือ
C = 100 + 0.75Yd
เมื่อ C = รายจ่ายในการบริโภค
Yd = รายได้สุทธิส่วนบุคคลที่สามารถนำไปใช้จ่ายได ้
จากสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายในการบริโภคและรายได้สุทธิข้างต้น ทำให้ทราบ
ว่ารายจ่ายในการบริโภคจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิ รายจ่ายคงที่ในการบริโภคจะมีค่าเท่ากับ 100
หน่วย (คือค่าตัว a ในสมการทั่วไป) และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองเป็นไปในทางเดียวกันโดยถ้า
รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้รายจ่ายในการบริโภคเพิ่มขึ้น 0.75 หน่วย และในทางตรงข้าม ถ้ารายได้
สุทธิลดลง 1 หน่วย จะทำให้รายจ่ายในการบริโภคลดลง 0.75 หน่วยด้วย (คือค่าตัว b ในสมการรูปทั่วไป)
10.3 กราฟ (Graph) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในลักษณะรูปกราฟที่
พบเสมอในทางเศรษฐศาสตร์ใช้แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรเพียง 2 ตัวบนกราฟที่มี 2 แกน คือ แกนตั้งและ