Page 16 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 16

15


                           จากรูป (ก) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นลบ แสดงค่าของ X และ Y เปลี่ยนแปลงไปในทางตรง
               ข้ามกัน ค่าของ X เพิ่มขึ้น ค่าของ Y จะลดลง หรือถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Y จะเพิ่มขึ้น สมการทั่วไปของ
               เส้นตรงแบบนี้ คือ Y = a – bX
                           จากรูป (ข) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นบวก แสดงว่าค่าของ X และ Y เปลี่ยนแปลงไปในทาง

               เดียวกัน ถ้าค่าของ X เพิ่มขึ้น ค่าของ Y จะเพิ่มขึ้นด้วย ในทำนองเดียวกัน ถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Yจะ
               ลดลงด้วย สมการทั่วไปของเส้นตรงแบบนี้ คือ Y = a + bX
                           จากรูป (ค) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าไม่ว่าค่าของ X จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

               ค่าของ Y จะไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ค่าของ Y จะมีค่าคงที่ สมการทั่วไปของเส้นตรงแบบนี้ คือ Y = a
                           จากรูป (ง) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นอินฟินิตี้ หมายความว่า ไม่ว่าค่าของ Y จะเปลี่ยนแปลง
               ไปอย่างไร ค่าของ X จะไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยและมีค่าคงที่ตลอด สมการทั่วไปของเส้นตรงแบบนี้ คือ X
               = d

                           ในกรณีเส้นตรงลากออกจากจุดกำเนิดค่าจุดตัดแกนตั้ง หรือ a จะมีค่าเปนศูนย์ สมการทั่วไปของ
                                                                                      ็
               เส้นตรงแบบนี้จึงมีลักษณะเป็นดังนี้ Y = bX และในกรณีที่เส้นตรงลากจากจุดกำเนิดทำมุม 45 องศากับแกน
               ตั้งและแกนนอน ค่าความชันของเส้นตรงนี้จะมีค่าเท่ากับ 1 โดยมีสมการทั่วไป คือ Y = X นั่นคือ ทุกๆ จุดบน
               เส้นตรงเส้นนี้ให้ค่า X และ Y ที่เท่ากัน ดังรูป








                                                แสดงกราฟเส้นตรงที่ลากจากจุดกำเนิด
                                                          งการบริโภค
                         5. ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าหน่วยเพิ่ม (Total, Average and Marginal Value) เมื่อเราทราบ
               แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ เราจึงต้องศึกษาต่อไปว่า
               ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้เท่าไร โดยทั่วไปอาจวัดค่าออกมาได้ 3 แบบ คือ
                               1) ค่ารวม (Total Value) คือ ยอดรวมทั้งหมด เช่น ต้นทุนรวม รายได้รวม กำไรรวม เป็น

               ต้น
                               2) ค่าเฉลี่ย (Average Value) อัตราส่วนของยอดรวมตัวแปรตามกับยอดรวมของตัวแปร
               อิสระ เช่น ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย รายได้เฉลี่ยต่อวัน กำไรเฉลี่ย เป็นต้น

                               3) ค่าหน่วยเพิ่ม (Marginal value) เป็นวิธีวัดค่าที่นิยมกันมากในทางเศรษฐศาสตร์ค่า
               หน่วยเพิ่ม คือ การพิจารณาว่าตัวแปรตามจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงค่าไป



                      จากเดิม 1 หน่วย สูตรของหน่วยเพิ่ม =    ส่วนเปลี่ยนของตัวแปรตาม Y
                                                       ส่วนเปลี่ยนของตัวแปรอิสระ X
                                                               งการบริโภค
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21