Page 8 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 8

7


                         จากรูป ความสัมพันธ์ในวงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้างต้นสามารถแยกอธิบายได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้
                         1)  ความสัมพันธ์ในช่วงล่าง ครัวเรือนซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุนและ
               ผู้ประกอบการ จะนำปัจจัยไปขายให้ภาคธุรกิจและภาครัฐบาลในตลาดปัจจัยการผลิต โดยที่อุปสงค์
               (Demand) สำหรับปัจจัยการผลิตขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคธุรกิจและภาครัฐบาล ซึ่งอุปสงค์นี้จะส่งผลต่อ

               ราคาของปัจจัยการผลิตประเภทต่าง ๆ ด้วย ครัวเรือนซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตก็สนองตอบต่อราคา
               ดังกล่าว และทำการเลือกว่าควรจะเสนอขายปัจจัยที่ไหนอย่างไร การเลือกเช่นนี้จะเป็นตัวกำหนดอุปทาน
               (Supply) ของปัจจัยการผลิต และจะมีผลกระทบต่อราคาของปัจจัยการผลิต ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ภาคธุรกิจและ

               ภาครัฐบาลจ่ายให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่ ค่าจ้าง (Wage) ค่าเช่า (Rent)
               ดอกเบี้ย (Interest) และกำไร (Profit) ก็จะกลายเป็นรายได้ของเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือครัวเรือน
                         2)  ความสัมพันธ์ในช่วงบน เมื่อภาคธุรกิจและภาครัฐบาลรวบรวมปัจจัยการผลิตได้ แล้วก็นำมา
               ผลิตเป็นสินค้าและบริการ จากนั้นนำไปขายให้แก่ภาคครัวเรือนในตลาดสินค้าและบริการ โดยที่ครัวเรือนซึ่ง

               เป็นเจ้าของเงินจะมีอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการชนิดใดเป็นเท่าใด ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของครัวเรือนใน
               ขณะเดียวกันภาคธุรกิจต้องอาศัยราคาสินค้าและบริการในตลาดเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่าจะทำการผลิต
               สินค้าและบริการอะไรบ้างที่จะก่อให้เกิดกำไร ซึ่งก็คืออุปทานของสินค้านั่นเอง สำหรับภาครัฐบาลเมื่อผลิต
               สินค้าและบริการสาธารณะแล้ว ก็จะจำแนกแจกจ่ายไปยังประชาชนทั้งหมดในประเทศ ทั้งที่อยู่ในภาค

               ครัวเรือนและธุรกิจโดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของภาษีอากร (tax)

               5. ปัญหาพื้นทางเศรษฐกิจ

                       โดยกล่าวว่า ทุกสังคมจะประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
               เนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมได้ ปัญหาที่เผชิญ
               อยู่นั้นรวมเรียกว่าปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

                         1)  ผลิตอะไร (What) เมื่อทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกมีจำนวนจำกัดและไม่สามารถสนองความ
               ต้องการทั้งหมดของทุกคนในสังคมมนุษย์ได้ จึงต้องมีการคำนวณและวางแผนเพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดควรจะผลิตและ
               สิ่งใดไม่ควรผลิต และสิ่งที่ควรผลิตนั้นควรจะผลิตในปริมาณเท่าใด จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความ
               จำเป็น เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดนั้นเกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อให้ได้สิ่งที่มีคนต้องการมากที่สุด
               กล่าวโดยสรุป ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจข้อแรกก็คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร(what to Produce?)

                         2)  ผลิตอย่างไร (How) เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจแน่ว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการอะไร
               และผลิตในจำนวนเท่าไร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกคนในสังคมแล้ว ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
               ข้อต่อไปก็คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการที่เลือกนั้นด้วยวิธีใด จึงจะได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ในแง่ที่ว่าเสียต้นทุน

               การผลิตต่อหน่วยตํ่าที่สุดหรือใช้จำนวนปัจจัยการผลิตเท่าเดิม แต่ผลิตสินค้าหรือบริการได้เพิ่มขึ้น ย่อม
               ก่อให้เกิดผลดีแก่หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร
               (How to Produce?)
                         3)  ผลิตเพื่อใคร (For Whom) เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการ

                                                       ี
               อะไรผลิตในจำนวนเท่าไร และผลิตด้วยกรรมวิธใดที่จะเสียต้นทุนการผลิตตํ่าที่สุด ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
               ข้อที่สามก็คือ สินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นนั้นจะผลิตเพื่อใคร (For Whom to Produce?) จึงจะเป็นการแบ่ง
               สินค้าและบริการที่ผลิตได้ด้วยทรัพยากรอันจำกัดนั้นไปยังบุคคลต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เสมอภาคและยุติธรรม
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13