Page 4 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 4

3


               Nations (ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1776) ซึ่งได้กล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ และเรื่องทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์
               ได้แก่ มูลค่าของเศรษฐทรัพย์ต่างๆ การสะสมทุน การออม การค้าระหว่างประเทศ การคลังสาธารณะ และ
               การเก็บภาษีอากร ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์รุ่นต่อมาได้ใช้ประโยชน์จากตำราเล่มนี้ในการปรับปรุงเนื้อหาวิชา
               เศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษอีก 2 ท่านที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานวิชา

               เศรษฐศาสตร์ คือ เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo, 1772 - 1823) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มสำนัก
               คลาสสิก (Classical School) แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
               (Laissez Faire) ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชน โดยรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทาง

               เศรษฐกิจ ปล่อยให้เอกชนดำเนินธุรกิจต่าง ๆ โดยเสรี และยังให้ความสำคัญกับปัญหาในระยะยาว เช่น อัตรา
               การเพิ่มขึ้นของพลเมือง การสะสมทุน ผลตอบแทนของเงินทุน เป็นต้น และอัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred
               Marshall, 1842 - 1924) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School) ซึ่งได้รับช่วง
               แนวคิดของกลุ่มคลาสสิกมาปรับปรุง โดยเน้นให้เห็นถึงการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากร และการใช้

               ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับบุคคล หน่วยผลิต และประเทศสำหรับนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่
               เป็นผู้ปฏิรูปและวางรากฐานให้กับสาขาเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard
               Keynes, 1883 - 1946) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สมบูรณ์แบบเล่มแรกชื่อ The General
               Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งอธิบายถึงสาเหตุของภาวะสินค้าล้นตลาด การว่างงาน

               ทั่วไป และวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกตํ่าโดยใช้นโยบายการเงินและการคลัง
                         ในช่วงต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายท่านที่ได้พัฒนาแนวคิดและทฤษฎีทาง
               เศรษฐศาสตร์ ทำให้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์ได้รับการพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจในรูปแบบ
               ต่าง ๆ รวมทั้งการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น


               2.  แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับวิชาอื่นๆ

                         2.1  แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์
                              ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ได้จำแนกวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
                              1)  เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของ
               หน่วยย่อยๆ ในสังคม เช่น การผลิต การลงทุน การกำหนดราคาในตลาดของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง การบริโภคของ
               ครัวเรือน ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นต้น ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎี

               ผู้บริโภค ทฤษฎีผู้ผลิต และทฤษฎีการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต หรือรวมเรียกว่า ทฤษฎีราคา (Price
               Theory)
                              2)   เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของ

               ส่วนรวมหรือระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป การบริโภค การออม
               และการลงทุน ภาวะเงินเฟ้อ การคลัง การเงิน การค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น
                              การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคในบางครั้งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็น
               การศึกษาคนละแบบ เช่น ถ้ากล่าวถึงราคาในเศรษฐศาสตร์จุลภาค จะหมายถึงราคาของสินค้าและบริการชนิดใด

               ชนิดหนึ่ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาค จะหมายถึงราคาโดยเฉลี่ยของสินค้าในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ดังนั้น
               เศรษฐศาสตร์สองแขนงนี้จึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด มีความเกี่ยวพันกันและสำคัญไม่ยิ่งหย่อน
               ไปกว่ากัน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9