Page 9 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 9
8
8. ครูให้ผู้เรียนวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน พร้อมให้ผู้เรียนร่วมกันอธิปรายว่าควรจะผลิต
สินค้าหรือบริการใดที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ พร้อมทั้งบอกว่า ผลิตผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อ
ใคร
9. ครูบรรยายระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหา
พื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ประการนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเศรษฐกิจแต่ละแบบว่า มีลักษณะของระบบ
เศรษฐกิจเป็นอย่างไร โดยทั่วไประบบเศรษฐกิจ (Economic System) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
ใหญ่ ๆ คือ
6. ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism Economic System) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1) การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หน่วยเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนและหน่วย
ธุรกิจนั้นจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จึงมีสิทธิและเสรีภาพในการจัดการกับปัจจัยการผลิตตามความ
เหมาะสม
2) การมีเสรีภาพในธุรกิจ ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกประกอบธุรกิจ
หน่วยครัวเรือนเองก็มีเสรีภาพในการขายปัจจัยการผลิตของตนให้แก่หน่วยธุรกิจตามต้องการ
3) การมีกำไรเป็นสิ่งจูงใจ รายได้จากการขายปัจจัยการผลิตจะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการนำปัจจัย
การผลิตที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ และพยายามหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม
กำไรให้มากขึ้น ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบราคากับความพอใจที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นและจะเลือกซื้อ
สินค้าที่ทำให้ตนได้รับความพอใจมากที่สุดโดยจ่ายในราคาตํ่าสุด
4) ราคา การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาเป็น
เกณฑ์ในการตัดสิน ราคาตลาดจะกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการนั้น ถ้าปริมาณซื้อและ
ปริมาณขายเท่ากัน ราคาสินค้าก็จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าปริมาณซื้อและปริมาณขายไม่เท่ากัน ราคาสินค้าจะ
เปลี่ยนแปลงทันที กล่าวคือ ราคาสินค้าจะสูงขึ้นหากปริมาณซื้อมากกว่าปริมาณขาย และราคาสินค้าจะลดลง
หากปริมาณซื้อน้อยกว่าปริมาณขาย
กลไกสำคัญของการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ การกำหนดราคาและการเคลื่อนไหว
ของราคา ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้กลไกราคาในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ปัญหาผลิตอะไร ผู้บริโภคจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการของผู้ผลิต
ผู้ผลิตจะทราบความต้องการของผู้บริโภคจากจำนวนเงินที่ผู้บริโภคนำมาใช้จ่าย โดยปกติถ้าผู้บริโภคต้องการ
สินค้าและบริการใดมาก ก็ยินดีจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการนั้นมากและในราคาที่สูงด้วย ผู้ผลิตจึงนำราคา
สินค้าและบริการนั้นมาเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตเพื่อดูว่าจะกำไรหรือขาดทุน ถ้าได้กำไรก็จะพิจารณาว่า
ควรจะผลิตเท่าใดจึงจะได้กำไรสูงสุด ถ้าขาดทุนก็จะไม่ทำการผลิต
2. ปัญหาผลิตอย่างไร ผู้ผลิตต้องเลือกวิธีการผลิตที่เสียต้นทุนตํ่าสุดเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด
ดังนั้น ผู้ผลิตจะเลือกวิธีการผลิตใดนั้นต้องดูจากราคาสินค้าและราคาปัจจัยการผลิตร่วมกัน
3. ปัญหาผลิตเพื่อใคร ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาสินค้าและบริการเป็นเกณฑ์ใน
การแจกจ่ายสินค้าและบริการให้แก่คนในสังคม เมื่อสินค้าและบริการมีจำนวนจำกัด ผู้บริโภคจึงต้องแข่งขันกัน
ซื้อสินค้าและบริการที่ตนต้องการ ผู้บริโภคที่มีรายได้มากจะมีอำนาจซื้อมาก สินค้าจะถูกจัดสรรไปยังผู้บริโภค
ที่ต้องการและมีรายได้พอที่จะซื้อสินค้านั้นตามราคาตลาด