Page 7 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 7
6
ปัจจัยการผลิตในรูปของค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร เมื่อเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับรายได้ก็จะนำไปซื้อ
สินค้าและบริการ ดังนั้น ภาคครัวเรือนจึงมีฐานะเป็นทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิตและเป็นผู้บริโภค
2) ภาคธุรกิจ (Business Sector) เป็นผู้ที่ทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของผู้บริโภค โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภาคธุรกิจจะประกอบด้วยหน่วย
ธุรกิจต่างๆ ที่ทำการผลิตเพื่อมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด
3) ภาครัฐบาล (Government Sector) รัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ จะมีบทบาท
แตกต่างกัน เช่น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลไม่มีบทบาททางเศรษฐกิจเลย ในขณะที่ระบบ
เศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลมีบทบาทอย่างมาก รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทั้งหมด
ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันรัฐบาลจะมีบทบาทที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
รัฐบาลไม่มีบทบาททางเศรษฐกิจเลย ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลมีบทบาทอย่างมาก
รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันรัฐบาล
จะมีบทบาท
ที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจโดยทำหน้าที่วางระเบียบ กฎเกณฑ์เพื่อให้
เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างสะดวก นอกจากนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่
ให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยไม่หวังผลกำไร แต่ภาคธุรกิจจะทำการผลิตสินค้า
และบริการเพื่อประชาชนโดยหวังผลกำไร ในการหารายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษีอากรจากประชาชนนั้น
ก็เพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง เพราะฉะนั้น รัฐบาลจึงเปรียบเสมือนผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
สามารถแสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจทั้ง 3 ส่วนได้ดังรูป
ตลาดปัจจัย
ปัจจัยการผลิต
ค่าตอบแทน
ปัจจัยการผลิต
ภาคการเงิน เงินกู้
เงินออม
ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ
ภาษ ี ภาครัฐบาล ภาษ ี
ค่าใช้จ่ายในการ
บริโภค
สินค้าและ
บริการ
ตลาดสินค้าและ
บริการ
วงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ