Page 3 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 3

2



                   1.  ความหมายและประวัติของวิชาเศรษฐศาสตร์

                      1.1  ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์

               เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการสนองความต้องการของมนุษย์
               ซึ่งโดยทั่วไปมีอย่างไม่จำกัดโดยให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ (Efficiency) สูงสุด นั่นคือต้องใช้ทรัพยากร
               อย่างประหยัดที่สุดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมสูงสุด ทรัพยากรการผลิตหรือปัจจัยการผลิต

               ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน (Land) แรงงาน (Labour) ทุน (Capital) และผู้ประกอบการ
               (Entrepreneur)
                              1)  ที่ดิน (Land) ได้แก่ ที่ดิน หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า สิ่ง
               เหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้นเองไม่ได้ แต่สามารถปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติได้บ้าง

               เช่นการปรับปรุงที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เป็นต้น ผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า ค่าเช่า
               (Rent)
                              2)  แรงงาน (Labour) ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ (human resource) ได้แก่ ความสามารถ
               ทั้งกำลังกายกำลังสติปัญญา และความรู้ความสามารถที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของ

               แรงงานเรียกว่า ค่าจ้าง (Wage)
                              3)  ทุน (Capital) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ในการผลิต
               สินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ โรงงาน อาคาร เป็นต้น ผลตอบแทนของทุนเรียกว่า ดอกเบี้ย
               (Interest)

                              4)  ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิตทั้งสาม
               ประเภท คือ ที่ดิน แรงงาน และทุน เพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ
               เรียกว่า กำไร (Profit)

                              ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท คือ เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods)
               และสินค้าไร้ราคา (Free goods) โดยเศรษฐศาสตร์จะศึกษาเฉพาะสินค้าที่เป็นเศรษฐทรัพย์เท่านั้น
                              1)  เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่มีต้นทุน มีจำกัดและมี
               ราคาการจะได้สินค้าประเภทนี้ต้องซื้อหรือจ่ายเงิน เศรษฐทรัพย์ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าเอกชน
                                                                                                      ้
               (private goods) เป็นสินค้าที่แยกการบริโภคออกจากกันได้ และเจ้าของสามารถกีดกันผู้บริโภครายอื่นได เช่น
               นายเอกเป็นผู้จ่ายเงินซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เครื่องหนึ่ง นายเอกสามารถกีดกันไม่ให้คนอื่นใช้ประโยชน์
               จากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ และสินค้าสาธารณะ (public goods) ซึ่งเป็นสินค้าที่บริโภคร่วมกัน และไม่
               สามารถกีดกันบุคคลใดให้พ้นจากการบริโภคได้ เพราะมีผู้บริโภคจำนวนมากจึงไม่สามารถกีดกันได้ เช่น ถนน

               สะพาน สวนสาธารณะ โรงพยาบาล เป็นต้น
                              2)  สินค้าไร้ราคา (Free Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดจึงเป็น
               สินค้าที่ไม่มีต้นทุน จึงไม่มีราคาที่ต้องจ่าย ได้แก่ อากาศ นํ้าฝน นํ้าทะเล สายลม แสงแดด เป็นต้น
                         1.2 ประวัติของวิชาเศรษฐศาสตร์  เมื่อเทียบกับสาขาวิชาบางแขนง ได้แก่ ปรัชญา รัฐศาสตร์

               และนิติศาสตร์แล้ว เศรษฐศาสตร์ยังนับเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ บุคคลแรกที่วางรากฐานของวิชา
               เศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ (Adam Smith,1723 - 1790) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ เขาได้เขียนตำรา
               เศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลกขึ้น ชื่อว่าAn Inquiry   the Nature and Causes of the Wealth of
   1   2   3   4   5   6   7   8