Page 6 - บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
P. 6
5
แก่การแก้ปัญหามากกว่าปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์สามารถแยกสิ่งที่ต้องการศึกษา
ออกจากสิ่งอื่นๆ แล้วนำมาทดลองเป็นการเฉพาะได้ แต่การแก้ปัญหาเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถแยกสิ่งที่
ต้องการศึกษาออกจากสิ่งอื่นๆ ได้ดังนั้น การตั้งข้อสมมติฐาน (Hypothesis) จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญใน
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ จึงมักพบข้อสมมติที่กำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่สนใจศึกษาคงที่ไม่
เปลี่ยนแปลงเสมอ
ด้วยเหตุนี้การนำทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติผู้ใช้ต้องสังเกตสภาพแวดล้อมว่า สอดคล้องกับข้อ
สมมติของทฤษฎีหรือไม่เพียงใด ถ้าไม่เหมือนกัน การอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องใช้ความระมัดระวัง
ให้มากหรือพยายามหาทางแก้ไข ทำให้สภาพที่เกิดขึ้นจริงมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อสมมติมากที่สุด เพื่อไม่ให้
เกิดคำกล่าวที่ว่า “ทฤษฎีนำมาใช้ปฏิบัติไม่ได้” ดังนั้น ผู้ศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงต้องให้ความสนใจข้อสมมติของ
แต่ละทฤษฎีโดยจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปวิธีการในการศึกษาเศรษฐศาสตร์แบ่งออก
ได้ 3 วิธี คือ
1) สังเกตจากประวัติศาสตร์ (Historical Method) การสังเกตภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่
ผ่านมาจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ เพราะประวัติศาสตร์มักจะซํ้ารอยเดิมแต่การใช้วิธีนี้
อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากสภาพแวดล้อมในอดีตและปัจจุบันไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามการศึกษา
วิธีนี้ยังมีประโยชน์และนิยมทำกัน
2) วิธีหาผลจากเหตุ (Deductive Method) เป็นการกำหนดข้อสมมติฐาน (Hypothesis)
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นไว้ก่อนแล้ว จึงทำการศึกษาพิสูจน์ข้อสมมติฐานโดยทำ
การสังเกตปรากฏการณ์ และทดลองว่าข้อสมมติฐานนั้นใช้ได้หรือไม่ และทำการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องมา
ทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจริงทำซํ้า ๆ หลาย ๆ ครั้ง ถ้าผลส่วนใหญ่ที่ได้จากข้อเท็จจริงตรงกับข้อสมมติฐานที่ตั้ง
ไว้ ก็แสดงว่าข้อสมมติฐานนั้นถูกต้องสามารถนำมาตั้งเป็นทฤษฎีเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ถ้าไม่ตรงก็ยกเลิกไป
3) วิธีหาเหตุจากผล (Inductive Method) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์
ต่างๆ เฉพาะรายมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี เป็นการศึกษาจากเรื่องเฉพาะที่เป็นส่วนย่อยเพื่อ
สรุปเป็นเรื่องของส่วนรวมหรือใช้เป็นทฤษฎีทั่วไป
โดยปกติการศึกษาเศรษฐศาสตร์จะไม่ใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการเฉพาะ
แต่จะใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน เพราะการตั้งข้อสมมติฐานโดยปราศจากเรื่องในอดีตกระทำได้ยาก จะต้องมีการ
รวบรวมข้อมูลบางอย่างก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน และการรวบรวมข้อมูลก็ต้องมีความคิดอยู่
ก่อนแล้วว่าอะไรมีความสัมพันธ์กัน
4. หน่วยเศรษฐกิจและวงจรในระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่ทางด้านการผลิต การบริโภค
และการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนอยู่ดีกินดี หน่วยเศรษฐกิจของ
ทุกประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใดจะประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ ภาคครัวเรือน
ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล ซึ่งแต่ละหน่วยเศรษฐกิจจะมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ภาคครัวเรือน (Household Sector) มีฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้บริโภค ใน
ฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ภาคครัวเรือนจะเสนอขายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และ
ผู้ประกอบการให้กับผู้ผลิตเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ โดยผู้ผลิตจะจ่ายผลตอบแทนให้กับเจ้าของ