Page 14 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 14
10
14
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มที่และไม่ได้ลงไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยตรง นอกจากนี้มักจะ
มุ่งเน้นการแก้ไขความไม่เท่าเทียมในส่วนภูมิภาค ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน
ระหว่างเมืองและชนบท ระหว่างชนชั้นนำกับประชาชน สหรัฐอเมริกามักจะปฏิเสธโครงการขอความช่วยเหลือ
ส่วนใหญ่ที่ฝ่ายไทย ขอสนับสนุน ด้วยเหตุผลว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของตนและไม่มีงบประมาณ
แต่ขณะเดียวกันจะเสนอโครงการให้ไทยดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ส่วน
ความสัมพันธ์ด้านการค้านั้น ไทยต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากต้องนำเข้าสินค้าทุน
และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าสินค้าที่สหรัฐอเมริกานำเข้าไปจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้า
การเกษตร นอกจากนี้การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ให้แก่ไทยไม่ได้เป็นประโยชน์แก่สินค้าที่ส่งออกของ
ไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะครอบคลุมถึงชนิดของสินค้าตามความพอใจของสหรัฐอเมริกาเอง และเนื่องจาก
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ไม่มีความต้องการที่จะสั่งเข้าจากไทย
โดยตรง และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 สหรัฐอเมริกามีนโยบายกีดกันทางการค้า เช่น การจำกัดโควต้า การตั้ง
กำแพงภาษีชะลอการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและดุลการเงินกับประเทศที่
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เสียเปรียบรายใหญ่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทย และทำให้ไทยต้องทบทวนนโยบายด้าน
การค้าใหม่ ด้วยการแสวงหาตลาดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาคห่างไกลออกไป เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา
สรุป
สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีบทบาททางด้านเศรษฐกิจต่อไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาแต่ไม่ปรากฎหลักฐานที่
ี่
แน่นอนเนื่องจากไม่มความสัมพันธ์ทางด้านการค้าทแน่ชัด แต่เริ่มเข้ามามีบทบาทแท้จริงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3
ี
ที่เข้ามาทำการค้ากับไทยผ่านสนธิสัญญาทางด้านการค้าคล้ายกับสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทำกับอังกฤษ ทำให้
การค้าของไทยกับต่างประเทศเริ่มขยายตัวขึ้น โดยมีบริษัทของสหรัฐฯ ที่มีอิทธิพลต่อการค้าและเศรษฐกิจผ่าน
การสัมปทานกิจการหรือการตั้งบริษัทเอกชนเพื่อทำการค้าขาย และหลังจากนั้นความสัมพันธ์ทางด้าน
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเริ่มมีบทบาทต่อไทยมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ไทยเป็น
ประเทศผู้แพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐก็ให้ความช่วยเหลือไทยทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจทำ
ิ
ให้เศรษฐกิจของไทยเริ่มกับมาฟื้นฟูมากขึ้น จนในช่วงที่ไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจต้มยำกุ้งหวังพึ่งพง
ประเทศไหนไม่ได้แม้กระทั่งญี่ปุ่นที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ทำให้ต้องกลับไปขอความช่วยเหลือจาก
ั
สหรัฐอเมริกาเหมือนเดิม โดยสหรัฐก็ให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ประเทศไทยกู้ยืมเงินสองพนล้านบาทและให้
เข้าร่วม IMF รัฐบาลไทยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขคือ ไทยต้องเปิดเสรีในทุก ๆ ด้าน ยกเลิกกฎระเบียบต่าง ๆ
ทางด้านการค้า ซึ่งการที่ไทยเปิดการค้าเสรีตามนโยบายที่สหรัฐฯต้องการก็ส่งทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศ
ไทยแต่ก็เป็นการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันสหรัฐฯ นับว่าเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อ
ไทยเป็นลำดับต้น ๆ ทั้งด้านการค้า การส่งออกสินค้า การนำเข้าสินค้าต่าง ๆ และถือเป็นประเทศคู่ค้าที่ทำ
รายได้ให้แก่ประเทศไทยที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันอิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาก็ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย
ผ่านสินค้า บริการ การค้าขายต่าง ๆ