Page 13 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 13
9
13
การขายบริการสินค้าในประเทศไทยโดยบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2560 ในขณะที่การขายบริการสินค้าในสหรัฐฯ โดยบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของ มีมูลค่า 189
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
10. บทบาทไทยกับองค์การค้าโลก
มีการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทำให้องค์การค้าโลกถูกกล่าวหาว่าควบคุมระบบ
การค้าของโลกเพื่อผลประโยชน์ชองประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ราว 20-30 ประเทศ
เท่านั้น ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ได้อาศัยการค้าเสรีแอบดึงดูดวัตถุดิบราคาถูกมากอบกินเป็นความมั่นมีของตน
โดยส่งผลต่อไทย คือ สินค้าส่งออกของไทยจะได้มีราคาสูงและถูกกีดกันน้อยลงสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น
แต่ประเทศไทยต้องเปิดตลาดบริการในสาขาการเงิน การคมนาคมขนส่ง ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
เข้มงวดในเรื่องสิทธิบัตรยา ลิขสิทธิ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และสื่อบันเทิงมากกขึ้น
จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นนั้น
สาเหตุหนึ่งมาจากการที่สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในโลก และความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นก็เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอเมริกาและต้องการเป็นประเทศ
มหาอำนาจเหนือประเทศอื่นจึงพยายามสรรหาทุกวิถีทางที่จะทำให้ตนครองความเป็นเจ้า ซึ่งเห็นได้ชัดคือ
พยายามบีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ เปิดการค้าแบบเสรีกับสหรัฐอเมริกัน
11. ผลกระทบของสหรัฐฯ ที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย
เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในไทยเพิ่มมากขึ้นก็ได้มีการครอบครองตลาดทางการค้า และ
ความคิดของประชาชนในประเทศโดยการใช้กฎระเบียบโลกใหม่และลัทธิการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการบุกรุก
ตลาดการค้า และใช้ระบอบอเมริกันนิยมซึ่งนับตั้งแต่ประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงินในปี พ.ศ. 2536 ได้เงิน
จำนวนมหาศาลไหลทะลักเข้ามาสู่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย แต่ก็เป็นแค่เงินกู้ภาคแอกชน
และเงินลงทุนที่ฉาบฉวยในตลาดหุ้นซึ่งมีความเสี่ยงต่อการไหลออกอย่างรวดเร็ว และจากการให้ความ
ช่วยเหลือจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 จะเห็นได้ว่าภายใต้การให้ความช่วยเหลือและอุปถัมภ์ของ
สหรัฐอเมริกา นั้น มักหวังผลประโยชน์ตอบแทน 2 ชั้น เสมอ คือ
ชั้นแรก ผลตอบแทนเชิงรูปธรรม เช่น สิทธิพิเศษของสหรัฐอเมริกาและคนอเมริกาในดินแดนไทยจะ
เห็นได้จากการที่คนอเมริกาเดินทางเข้าไทยโดยไม่ต้องทำวีซ่า แต่ไทยไปอเมริกายังมีขั้นตอนที่ลำบากยุ่งยาก
ชั้นสอง ผลตอบแทนเชิงนามธรรม คือ อเมริกันนิยม เช่น จากการที่เรียนจบการศึกษาอเมริกาการ
ปฏิบัติตามวัฒนธรรม การแต่งตัว การกินอาหาร รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจาก
อเมริกา
ผลและแนวโน้มของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและด้านการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น
แม้ว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ประชาชาติของไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดและส่งผลกระทบในทางลบต่อไทย กล่าวคือ
สหรัฐอเมริกามักจะให้ความช่วยเหลือกับรัฐบาลที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมิได้มุ่งต่อการ