Page 8 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 8

4
                                                                                                         8

               เนื่องจากอังกฤษต้องการที่จะเข้ามาควบคุมไทยในบานะประเทศผู้แพ้สงคราม และในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาก ็

               ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือกับไทยทั้งด้านการทหารและด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้กองทัพและเศรษฐกิจของไทยมี
               ความเข้มแข็งขึ้นเป็นอย่างมากโดยความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาต่อไทยจะเน้นไปในทางเศรษฐกิจเป็น

               ส่วนใหญ่เพื่อจะได้ถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐอเมริกัน นโยบายทางความสัมพันธ์ร่วมกัน คือ

                        1. ผลประโยชน์ร่วมกัน
                        2. ความสมดุลหรือดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์

                        3. นโยบายสายกกลาง คือ สร้างดุลยภาพแห่งนโยบายและการรักษาระยะห่างอย่างเท่าเทียม

               ระหว่างความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐฯ และไทย-จีน
               4. ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ

                        ยุคต่อมาคือ ยุควิกฤติเศรษฐกิจหรือเรียกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศไทย พ.ศ. 2540 ที่เกิดขึ้นกับ
               ประเทศไทย ในยุครัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลง

               อย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

               หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน
               (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น

               ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะ และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่
               ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคา

               สินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้นโดยสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการ

               ดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก  ่
                          1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิด

               ความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง

                          2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤต
               เงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบ

               ตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว
                        ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อคนและสังคมได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยก่อให้เกิดปัญหา

               คุณภาพของชีวิตของคนไทยมากยิ่งขึ้น ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจมีผลต่อการซ้ำเติมปัญหาความยากจนและความ

               เหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
                        เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นไทยจึงจำเป็นต้องไปปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯใหม่อีกครั้ง   ทำให้

               สหรัฐฯ กลับมามีความสำคัญต่อไทยอีกครั้ง เพราะว่าไทยพึ่งใครไม่ได้อีกแล้ว ไทยหวังที่จะพึ่งญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นก็
               ย่ำแย่ ไทยเคยพึ่งพาจีนด้านความมั่นคง แต่ทางด้านเศรษฐกิจจีนช่วยอะไรไทยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไทยจึงไม่มี

               ทางเลือก ต้องหันกลับไปหาสหรัฐฯ

                        ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯเริ่มเปลี่ยนใหม่ จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ การที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
                                                                            ื่
               เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 1998 การเดินทางครั้งนี้เป็นไปเพอวัตถุประสงค์ใด  ที่ชัดเจนคือ ไทย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13