Page 11 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 11
7
11
6.2 ผลดีของการทำ FTA ไทย-สหรัฐอเมริกา
การที่ไทยมี FTA กับสหรัฐฯนั้น จะทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การค้า
ระหว่างไทยกับสหรัฐฯจะมีเพิ่มมากขน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ จะเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้
ึ้
การลงทุนจากสหรัฐฯก็จะเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมไทยในอดีตที่เคยได้รับการปกป้องจากภาครัฐ ก็จะต้อง
ปรับตัว ซึ่งในระยะยาวจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น และธุรกิจที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจาก
สหรัฐฯ ต้นทุนการผลิตจะลดลง เพราะการนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ ราคาจะถูกลง ผลดีที่ไทยจะได้จากการ
ทำ FTA กับสหรัฐฯ ที่ชัดเจนที่สุด คือ การเปิดตลาดสหรัฐฯให้กับสินค้าไทย สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่
ที่สุดของไทย สินค้า 3 ประเภทที่จะได้รับผลดีอย่างชัดเจน ได้แก่ สินค้าสิ่งทอ สินค้าเกษตร ชิ้นส่วนยานยนต์
6.3 ผลเสียของ FTA ไทย-สหรัฐฯ
1. การค้าสินค้า ประเทศไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 18 ของสหรัฐฯ และเป็นตลาดส่งออก
สินค้าเกษตร อันดับ 16 ฝ่ายสหรัฐฯหวังว่า FTA จะขยายการส่งออกของสหรัฐฯ ในไทยโดยการให้ฝ่ายไทยลด
ุ
ภาษีสินค้าต่าง ๆ ลงรวมทั้งการลดอปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีด้วย ซึ่งจากตัวเลขของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า
สินค้าเกษตรของสหรัฐฯเจอปัญหาภาษีนำเข้าจากไทยซึ่งมีอัตราเฉลี่ย 35% นอกจากนี้ ไทยยังมีภาษี นำเข้าที่
สูงในเรื่องของยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ด้วย ซึ่งมีอัตราสูงถึง 80% ดังนั้น การมี FTA กับสหรัฐฯ จะส่งผล
กระทบในทางลบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทยและอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย
2. การค้าภาคบริการ ครอบคลุมหลายเรื่องทั้งเรื่องการเงิน การธนาคาร การประกันภัย การ
โทรคมนาคม การค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทของไทยเสียเปรียบสหรัฐฯ แทบทั้งสิ้นโดยเฉพาะที่น่าเป็น
ห่วงมาก คือ ในสาขาด้านการเงิน ได้มีกระแสออกมาเรียกร้องว่า การเปิดเสรีภาคการเงินให้กับสหรัฐฯ จะ
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธนาคารและสถาบันทางการเงินของไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในเรื่องของการเปิด
เสรีทางด้านโทรคมนาคมซึ่งเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง
3. ด้านการลงทุน สำหรับทางฝ่ายสหรัฐฯนั้น มองว่า FTA ไทย-สหรัฐฯ จะปกป้องคุ้มครอง
ผลประโยชน์ด้าน การลงทุนของสหรัฐฯในไทย ท่าทีของสหรัฐฯในเรื่องนี้คือการที่จะใช้ FTA คงสถานะของ
สหรัฐฯ ภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ สหรัฐฯยังจะกดดันไทยให้แก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ
ที่สหรัฐฯมองว่า เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุนสหรัฐฯในไทย อย่างไรก็ตาม สำหรับท่าทีของไทยนั้น ต้องการที่จะให้
มีการแก้ไขหรือยกเลิกสนธิสัญญากับสหรัฐฯ โดยฝ่ายไทยอ้างว่า สนธิสัญญาดังกล่าวขัดต่อหลัก MFN ของ
ื่
WTO นอกจากนั้น ฝ่ายไทยยังถูกกดดันจากประเทศอน ๆ ที่มาลงทุนในไทยที่อยากจะมีสิทธิเหมือนเช่นบริษัท
สหรัฐฯ
7. สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่สหรัฐอเมริกามีต่อไทย
สหรัฐอเมริกาได้มีโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference
หรือ GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ด้วย
จุดมุ่งหมายของ GSP ก็เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ได้รับสิทธิอีกทั้งยังสนับสนุนเศรษฐกิจ
ของสหรัฐฯ เอง ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP นี้ สหรัฐฯ จะยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเป็นจำนวนไม่เกิน 5,000