Page 6 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 6
2
6
1) ด้านเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ไทยมากที่สุด
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายทางด้านการเมือง โดยเฉพาะการนำนโยบายสกัดกั้นการแผ่
ขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ของประธานาธิบดีทรูแมนมาใช้ในปี พ.ศ. 2490 โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือ
แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการนำความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา
เข้ามาช่วยให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร สาธารณสุข คมนาคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
หลังสิ้นสุดสงครามเย็นความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาได้ลดลง ในขณะที่ประเทศผู้ที่ให้ความช่วยเหลือไทย
มากที่สุดกลายเป็นประเทศญี่ปุ่น
2) ด้านการค้า สหรัฐอเมริกาและไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างไม่เป็นทางการมาช้านานแล้ว
แต่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางการค้าอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2463 คือ สนธิสัญญาทาง
ไมตรีการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างประเทศ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาได้ยกเลิกและมีการทำ
สนธิสัญญาใหม่อีกหลายฉบับ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ตรารัฐบัญญัติปฏิรูปการค้า ซึ่งให้สิทธิพิเศษ
ทางการค้าแก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาตามโครงการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป
(Generalized System of preference. GSP) เพื่อช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการส่งออกโดย
ผ่อนคลายหรือยกเลิกการกีดกันทางการค้าในรูปภาษีศุลกากร (Tariff barriers) เพื่อเปิดตลาดให้แก่สินค้าออก
ของประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษนี้ในปี พ.ศ. 2519 รวมทั้งยังได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
ให้แก่ไทย ซึ่งเป็นประเทศภาคีของแกตต์จากการประชุมรอบโตเกียว (Tokyo Round) ด้วยความสัมพันธ์ทาง
การค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา การค้าและการลงทุนของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยเริ่มมีความสำคัญ
และขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในประเทศไทยได้ร่วมกันก่อตั้งหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
ขึ้น ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
2.1 ช่วงก่อนสงครามเย็น
ในระยะแรก ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐเริ่มจากทางด้านการค้าก่อน ในช่วงต้นศตวรรษที่
19 โดยในปี 1833 มีการจัดทำสนธิสัญญาด้านการค้าระหว่างไทย-สหรัฐ ต่อมาในปี 1856 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4
มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างไทย-สหรัฐ การค้าระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา
ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี 1884 เป็นปีที่สหรัฐได้มาจัดตั้งสถานทูตในไทยครั้งแรก
3. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ทางด้านเศรษฐกิจในลักษณะที่ได้เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังเก็บภาษี
ศุลกากรได้เป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และดึงเอา
ประเทศไทยเข้าไปร่วมในสงครามด้วยทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาหยุดชะงัก
ลง เพราะประเทศไทยสามารถทำการค้ากับญี่ปุ่นได้เพียงประเทศเดียวเท่านั้น ยังผลให้ประเทศไทยได้รับภาษี
ศุลกากรลดลงมาก และการที่การค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงนี้ได้ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของไทยอย่างร้ายแรง ดังนี้