Page 9 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 9

5
                                                                                                         9

               ต้องกลับไปหาสหรัฐฯ โดยการเข้าร่วม IMF รัฐบาลไทยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF ซึ่งปรากฏอยู่ใน

               จดหมายแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือ ไทยต้องเปิดเสรีในทุก ๆ ด้าน ทั้งเปิดเสรี
               ทางด้านการค้าและการลงทุน เปิดเสรีทางด้านการประกอบอาชีพของชาวต่างชาติ ยกเลิกกฎระเบียบต่าง ๆ

               ตลอดจนยอมรับนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน ทั้งหมดนี้ถูกตราเป็นนโยบายโดยผ่านออกเป็น

               กฎหมาย 40 ฉบับ ซึ่งไทยได้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจประมาณ 2 พันล้านเหรียญจากสหรัฐฯ สหรัฐฯ
               เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ใน IMF ไทยรู้ดีว่า สหรัฐฯเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของไทย

                        อย่างไรก็ตาม การที่ไทยกลับไปหาสหรัฐฯ ได้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ไทยจะต้องสูญเสียอะไรไป

               บ้าง สิ่งที่สหรัฐฯจะได้จากไทยคงจะมีหลายด้าน
                        ประเด็นแรกคือ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ กลับไปสู่ความสัมพันธ์ดั้งเดิมที่เรียกว่า “traditional

               patronage” คือ ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่สหรัฐเป็นผู้ให้ ไทยเป็นผู้ขอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยกล้าชน
               สหรัฐและเรียกร้องความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกับสหรัฐ กับยุโรปและญี่ปุ่นด้วย เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ

               (economic partnership) มีความเท่าเทียมกัน ไทยไม่ต้องการความช่วยเหลือแล้ว ไทยขอเป็นหุ้นส่วนทาง

               เศรษฐกิจ หุ้นส่วนทางด้านการค้า การลงทุน แต่คำนี้หายไปจากคำศัพท์ (vocabulary) ของนโยบาย
                                                                                                     ี
               ต่างประเทศไทยไปแล้ว เพราะฉะนั้น ในความสัมพันธ์ลักษณะนี้ ทำให้สหรัฐกลับมามีบทบาทในภูมิภาคอกครั้ง
               สหรัฐรู้สึกว่าบทบาทของตนลดลง ในขณะที่ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคนี้ นี่จึงเป็นโอกาสที่จะให้สหรัฐ
               กลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง

                        อีกประการ ผลจากที่ไทยต้องไป “ง้อ” สหรัฐฯ คือ ในอดีตที่บริษัทธุรกิจของสหรัฐฯอยากจะเข้ามา

               ทำธุรกิจในไทย แต่มีการกีดกัน โดยเฉพาะการเข้ามาทำธุรกิจในภาคบริการ เช่น การธนาคาร การเงิน การ
               โทรคมนาคม มีการปิดตลาด ไม่เปิดเสรีให้ต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาธนาคารโดยเสรีได้ เพราะฉะนั้น สหรัฐฯ จึง

               มีปัญหา แต่หลังวิกฤติทุกอย่างก็ราบรื่นสำหรับสหรัฐฯ

                        ผลอีกประการหนึ่ง ในการที่กลับไปปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ คือ บทบาทของไทยในเวทีต่าง ๆ
               เช่น สหประชาชาติ APEC WTO ไทยต้องสนับสนุนท่าทีของสหรัฐฯ มากขึ้น จากในอดีตที่ผ่านมา ท่าทีของไทย

               ไปชนกับสหรัฐฯ ในหลาย ๆ เรื่อง ท่าทีของไทยก็อ่อนลงไป
               5. แนวนโยบายของไทยต่อสหรัฐฯ

                                                                                       ้
                        ไทยต้องการแสวงหาช่องทางใหม่ ๆ ในการส่งเสริม ผลักดันการส่งออกกบคู่คาหลักและตลาดสำคัญ
                                                                                   ั
               ในภูมิภาค เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าให้แก่ภาคเอกชนไทย โดยเน้นเรื่องคุณภาพและ
               มาตรฐาน รวมทั้งภาพลักษณ์ การเข้าถึงแหล่งกระจายสินค้าและการพัฒนาด้านโลจิสติกส์

                        ไทยยังคงต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและ
               เศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและศักยภาพในการ

               เป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน การคมนาคมในภูมิภาค
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14