Page 10 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 10
10 6
ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจบริการในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านร้านอาหารไทย ธุรกิจสุขภาพสปา และ
ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย อันจะมีส่วน
ช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวและอาหารไทย
การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริม
ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ แสวงหา niche knowledge เพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจ
6. เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา
เขตการค้าเสรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา มีการเจรากันเกือบทุกสาขา เพราะฉะนั้นถ้าเราเปิด
การค้าเสรีมากขึ้น สินค้าทางการเกษตรของเราจะขายได้มากขึ้น ทำให้การค้าและการส่งออกเป็นไปอย่าง
ลำบากแต่ถ้ามี FTA และสหรัฐอเมริกาก็จะหมดไป แต่ถ้าเราต้องทำการค้ากับสหรัฐอเมริกาเราต้องทำการเปิด
การค้าเสรีทุกรูปแบบทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและบริการเป็นต้น ซึ่งการทำเขตการค้าเสรีกับสำหรับ
สหรัฐอเมริกาจะทำให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้น ซึ่งอาจนำมาด้วยการเสียผลประโยชน์ในบางเรื่อง
6.1 กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน
ไทยและสหรัฐฯ ได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and
Investment Framework Agreement – TIFA) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ในระหว่างการประชุมAPEC ที่
ประเทศเมกซิโก และได้มีการจัดตั้ง Joint Council (JC) เพื่อติดตามการดำเนินงานของความตกลง TIFA โดย
็
ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative – USTR) เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายสหรัฐฯ และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย
กรอบการเจรจา – ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน
รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ โดยการเจรจาแบ่งออกเป็น 22 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเปิดตลาด
ุ
สินค้าเกษตร (2) การเปิดตลาดสินค้าอตสาหกรรม (3) การเปิดตลาดสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป (4) กฎว่าด้วย
ถิ่นกำเนิดสินค้า (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) โทรคมนาคม (8) การเปิดเสรีภาคการเงิน (9) พาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ (10) ระเบียบพิธีศุลกากร (11) มาตรการสุขอนามัย (12) มาตรการเยียวยาทางการค้า (13)
ความโปร่งใส (14) การระงับข้อพพาท (15) การจัดซื้อโดยรัฐ (16) นโยบายการแข่งขัน (17) วิทยาศาสตร์และ
ิ
เทคโนโลยี (18) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (19) ทรัพย์สินทางปัญญา (20) อุปสรรคทางเทคนิคต่อ
การค้า (21) การสร้างขีดความสามารถทางการค้า (22) แรงงานและสิ่งแวดล้อม
การเจราจากับไทยหยุดชะงักในช่วงที่ประเทศไทยเกิดรัฐประหารและการยุบสภาในปี 2006
สำหรับสหรัฐอเมริกาจึงประกาศจะไม่เจรจา FTA กับรัฐบาลไทยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จนถึงปัจจุบันก็ไม่มี
การเจรจา FTA ระหว่างกันอีก หลังการการเจราจาระหว่างไทยและสหรัฐฯได้หยุดชะงัก ได้มีการจัดตั้งกลไก
่
ประชุมหาหรือทวิภาคีระหว่างไทย-สหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับประเด็นทีไม่
เกี่ยวข้องกกับ FTA เช่น ประเด็นการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ความร่วมมือทางการค้ากันเป็น
ระยะ ๆ ตามความเหมาะสม