Page 7 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 7

3
                                                                                                         7

                          1) ค่าครองชีพสูงขึ้น

                          2) เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
                        3.1 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

                          การติดต่อทางการค้าระหว่างไทย และอเมริกันไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร หลังการลงนามใน

               สนธิสัญญาทางการเมือง และการค้า เมื่อปี พ.ศ. 2375 และปี พ.ศ. 2399 พ่อค้าอเมริกันค้าขายกับไทยน้อย
               มาก สาเหตุประการหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอยู่ห่างไกล และการเดินทางสมัยนั้นไม่สะดวก แต่อาจกล่าวได้ว่า

               สหรัฐอเมริกันมีส่วนนำการพัฒนาด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในเมืองไทยหลายอย่าง ในรัชสมัย

               พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสั่งเครื่องจักรไอน้ำจากสหรัฐอเมริกามาติดตั้งในเรือกลไฟทั้ง
               ของทางราชการ และของเอกชน เพื่อใช้เป็นเรือโยงบรรทุกสินค้าตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา หมอจอห์น ชานด์

               เลอร์ มิชชันนารีอเมริกัน เป็นผู้ริเริ่มต่อเรือโดยใช้เครื่องจักรไอน้ำขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
               เจ้าอยู่หัว โรงสีไฟ และโรงเลื่อยจักรชาวอเมริกันก็เป็นผู้ริเริ่มขึ้น

                           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริษัทอเมริกันได้สัมปทานเดินรถรางครั้งแรก

               ในกรุงเทพ ฯ ติดไฟแสงสว่างในกรุงเทพฯ และกิจการเหมืองแร่ อู่เรือบางกอกด๊อค
                           ในปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลสหรัฐอเมริกัน แต่งตั้งทูตพาณิชย์ประจำสถานทูตในกรุงเทพ ฯ ด้วยเหตุว่า

               กรุงเทพ ฯ เป็นเมืองเสรี เป็นเมืองท่าใหญ่เมืองเดียวในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเวลานั้นที่ไม่ได้อยู่ใน
               ความควบคุมของมหาอำนาจยุโรป และสนามบินของประเทศไทยก็เป็นสนามบินแห่งเดียวในเอเชียตะวันออก

               เฉียงใต้ที่เครื่องบินพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกัน จะใช้ได้เท่าเทียมกับเครื่องบินของมหาอำนาจจักรวรรดิ์นิยมอื่น

                        ทางด้านเศรษฐกิจ ภายหลังปี พ.ศ. 2493 สหรัฐอเมริกาได้มีสัญญาเพื่อให้ความช่วยเหลือทาง
               เศรษฐกิจของไทยจำนวนมากและภายหลังสหรัฐอเมริกาก็ได้เป็นตลาดนำเข้าสินค้าของประเทศไทย   ที่สำคัญ

               ที่สุดในโลกมีมูลค่าในการค้าขายต่อกันแต่ละปีจำนวนมากโดยไทยจะเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบเรื่องดุลการค้ากับ

               สหรัฐอเมริกาตลอดมา โดยสหรัฐอเมริกาได้มอบสิทธิพิเศษทางการค้าให้กับไทย ในสินค้าหลายชนิดจึงมีการ
               เก็บภาษีในอัตราที่ต่ำทำให้สินค้าไทยได้เปรียบสินค้าจากประเทศอื่นอย่างมาก

                        3.2 บทบาทของสหรัฐอเมริกาต่อไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
                          ภายหลังช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทมหาอำนาจโลกของอเมริกาในทางเศรษฐกิจ

               ระหว่างประเทศมีความโดดเด่นในเรื่องของการเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐมีบทบาทสำคัญมากและเข้า

               มามีบทบาทสำคัญในองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคในการแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่
               ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ ผ่านบทบาทขององค์การต่าง ๆ ของโลก อาทิ ธนาคารโลก

               องค์การค้าโลก กองทุนระหว่างประเทศ
                        3.3 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอเมริกากับไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

                        ความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกาที่มีอิทธิพลต่อไทยเริ่มมีความเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงสงครามโลก

               ครั้งที่ 2 ที่รัฐบาลไทยประกาศให้การสนับสนุนญี่ปุ่นในการทำสงครามดังนั้นเมื่อสงครามยุติลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่าย
               แพ้อังกฤษจึงได้ยื่นข้อเรียกร้อง 21 ข้อ แต่หลังจากที่เจราจาไทยตกลงเพียง 8 ข้อ ซึ่งนับว่าสาหัสพอสมควร
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12