Page 5 - อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
P. 5
1 5
อิทธิพลทางเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไทย
1. ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกามีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ
สหรัฐอเมริกาเป็นส่วนหนึ่งของชาติตะวันตกที่ทำสัญญาทางการค้ากับประเทศไทยหลังสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำ
กับอังกฤษ ก็ได้มีการทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับอเมริกาและชาติอื่น ๆ ทำให้การค้าของไทยกับนานา
ประเทศขยายตัวขึ้น โดยในด้านการค้าปรากฎว่าสหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่เปิดศักราชด้านเครื่องจักรยนต์
กลไกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 สหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาตั้งบริษัททางด้านการค้าในประเทศ
ไทย และเจริญขึ้นเป็นลำดับในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่นบริษัท Bangkok Manufacturic co. ซึ่งเป็นบริษัทผลิต
น้ำอัดลมและน้ำหวาน โดยสินค้าสำคัญของสหรัฐอเมริกาในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ รถยนต์ ยี่ห้อ FORD และใน
สมัยรัชกาลที่ 6 สินค้าที่สำคัญอีกอย่างคือ ภาพยนตร์ และมีสัมปทานกิจการต่าง ๆ จากรัฐบาลไทย เช่น
กิจการรถรางในพระนคร กิจการไฟฟ้า กิจการเหมืองแร่
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พ.ศ.2488 เป็นต้นมา ได้เกิดภาวะสงครามเย็น ซึ่งเป็นความขัดแย้ง
ทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยหรือเสรีที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่ง
นำโดยสหภาพโซเวียต เกิดสงครามตัวแทนและความตึงเครียดขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการณ์สงครามเวียดนาม
เป็นต้น ไทยได้ดำเนินนโยบายตามหลังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐสนับสนุนให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็น
ประเทศที่แพ้ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจึงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาตลอดมา โดยมีการ
สถาปนาความสัมพันธ์ทางด้านต่าง ๆ ต่อกัน ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในปี พ.ศ.2493 เพื่อร่วมมือในการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่ยาวนานที่สุดในทวีปเอเชียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งความสัมพันธ์เริ่มต้นมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2376 หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1833 เมื่อทั้งสองประเทศร่วมลงนามสนธิสัญญาไมตรีและการค้าในยุค
ประธานาธิบดีแอนดรู แจ็คสัน กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โดยการ
ลงนามสนธิสัญญาในครั้งนั้นทั้งสองประเทศปฏิญาณที่จะสร้าง “สันติภาพอันถาวร” ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้เป็น
ความภาคภูมิใจของชาวไทยเนื่องจากเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกา เข้ามาทำในกลุ่มประเทศ
อาเซียน สนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยนับถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ฉบับ
ปัจจุบันได้ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 มีขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมกว้างขวางทางด้าน
มิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ ครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมด ยกเว้นธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ การ
ั
สื่อสาร การขนส่ง การดูแลทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การธนาคารที่เกี่ยวข้องกบการรับฝากเงิน การค้า
ภายในที่เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และการแสวงหาผลประโยชน์จากที่ดินและ
ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้