Page 43 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 43
การไถแต่ละครั้งต้องเว้นระยะห่างกันประมาณ 7-10 วัน เพื่อตากดิน ก าจัดวัชพืช เชื้อโรค แมลง
ศัตรูพืช และเพื่อให้ดินแห้งเหมาะส าหรับการไถครั้งต่อไป การไถพรวนท าให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น
ท าให้ดินร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวก เก็บความชื้นได้ดีขึ้น และมีสภาพเหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด ใน
กรณีที่การไถดะแล้วดินร่วนพอควร ก็อาจจะพรวนได้เลยโดยไม่ต้องมีการไถแปร
4) การยกร่อง ในการปลูกพืชไร่ถ้าเป็นการปลูกโดยใช้แรงงานคน ในการเตรียมดินมักจะยก
ร่องก่อนปลูก เช่น ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ อ้อย โดยจะมีการไถขึ้นร่องได้ตามระยะที่ต้องการ การปลูกพืชบนร่องจะ
ช่วยให้ไม่ให้พืชถูกน้ าขังกรณีที่มีฝนตกมาก ๆ แต่ถ้าเป็นการปลูกโดยใช้เครื่องจักร สามารถปลูกได้เลยหลังจาก
ไถพรวนดินเรียบร้อยแล้ว
การเตรียมดินแบบเต็มรูปแบบ ถึงแม้จะมีข้อดีดังกล่าวแล้ว แต่ข้อเสียที่พบคือ ถ้ามีการไถพรวน
ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะท าให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินลดลง เกิดชั้นดินดาน เป็นสาเหตุให้รากพืชไม่
สามารถชอนไชไปได้ รวมทั้งท าให้การระบายของน้ าลดลง
2. การเตรียมดินโดยลดการไถพรวน เป็นการเตรียมดินที่ท าให้ดินได้รับผลกระทบจากการเหยียบย่ า
ของเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงน้อยที่สุด การเตรียมดินวิธีนี้อาจเป็นการเตรียมดินเพียงเล็กน้อย เช่น มี
การไถดะและไถแปรก็สามารถปลูกได้
3. การเตรียมดินแบบไม่ไถพรวน เป็นการเตรียมดินโดยไม่ใช้เครื่องจักรกลหรือเครื่องทุ่นแรงใด ๆ
เลยแต่เป็นการน าสารเคมีที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้ในการก าจัดวัชพืชที่ตกค้างก่อนการปลูกและน าสารเคมี
ประเภทเลือกท าลายมาใช้ในการควบคุมการงอกของเมล็ด
1.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเตรียมดิน
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมดินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1 เครื่องมือเตรียมดินขนาดเล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์ ในการเตรียมดิน
ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้
1. เครื่องมือที่ใช้แรงงานคน
1) จอบ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ส าคัญมากในการเตรียมดิน โดยเฉพาะในการเตรียม
ดินครั้งแรกมีหลายชนิด เช่น จอบขุด ออกแบบเพื่อใช้ในการขุด เพื่อเตรียมดินให้ร่วนซุยหรือพลิกดิน เพื่อผึ่ง
แดด หรือจอบถาก ใช้ส าหรับขุดดินร่วน ก าจัดวัชพืช หรือย่อยดิน
2) เสียม เป็นเครื่องมือที่ใช้ส าหรับขุด แต่มักจะใช้ขุดดินที่ค่อนข้างลึกและดินไม่แข็ง
ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืชไร่ได้ แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ปลูกที่มีขนาดใหญ่
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202 หน้า 40