Page 6 - บทที่6-60
P. 6
อาการอ่อนแรง (motor dysfunction) ระยะแรกผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเดินไม่คล่อง แขนขามีอาการ
เกร็ง ถ้าเป็นที่ไขสันหลังระดับคอจะรู้สึกว่าท างานไม่ค่อยถนัดเนื่องจากอาการการอ่อนล้าของ
กล้ามเนื้อมือ เช่น เขียนหนังสือ ติดกระดุมเสื้อได้ล าบาก เมื่อมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจะเริ่มรู้สึก
ไม่มีแรงก้าวขา ก้าวขาไม่ออก ยืนไม่ไหว เป็นต้น
อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic dysfunction) ที่พบบ่อยคืออาการปัสสาวะไม่
ออกหรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ โดยจะมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่ออาการของแขนหรือขามีอาการ
อ่อนแรงมากไปแล้ว บางครั้งอาจมีอาการของระบบขับถ่ายได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ หากรอยโรคเกิด
ที่ภายในไขสันหลัง
การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขสันหลังจะเน้นไปที่การประเมินระดับของไขสันหลัง
ที่มีความผิดปกติและความรุนแรงของไขสันหลังที่ผิดปกติโดยการตรวจก าลังกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก
การตรวจ tone ของกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter) ของระบบขับถ่าย การตรวจรอยโรคที่เรียกว่า upper motor
neuron sign เช่น hyper-reflexia, hypertonia, spasticity, dorsiflexion response ของ Babinski’s test, clonus,
Hoffman’s sign ซึ่งทั้งหมดอธิบายได้จากความผิดปกติของไขสันหลัง
รอยโรคไขสันหลัง
รอยโรคของไขสันหลังแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. รอยโรคที่ท าให้สูญเสียการท างานทั้งหมด (Complete cord lesion)
รอยโรคนี้มักเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรงจนท าให้ไขสันหลังเกิดการฉีดขาดหรือมีการเลื่อน
กดทับไขสันหลังจากการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง การติดเชื้อไวรัสทั้งหมดของไขสัน
หลัง (viral transverse myelitis) เป็นต้น ความผิดปกติทั้งหมดจะท าให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึก กล้ามเนื้อ
อ่อนแรง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของระบบประสาทที่ต าแหน่งต่ าจากรอยโรคและอาจพบว่ามี
ปัญหาของระบบขับถ่ายร่วมด้วยหากเป็นความผิดปกติของไขสันหลังระดับล่าง ดังรูปที่ 2
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560