Page 63 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 63
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ได้จุดมุ่งหมายในการพัฒนา วิธีด าเนินการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยน าเอาแนวความคิดการพัฒนาแบบองค์รวม
และการบูรณาการเป็นกรอบแนวทางด าเนินการตั้งแต่ขั้นการวางแผนกลยุทธ์ จนถึงขั้นการวางแผนปฏิบัติการ
แผนพัฒนาจังหวัดเป็นเครื่องมือส าคัญในการน านโยบายของรัฐบาล และทิศทาง การพัฒนา
ประเทศไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และปัญหาความต้องการของประชาชน และเป็น
แผนชี้น าการพัฒนาจังหวัดในภาพรวมระยะยาว (4 ปี) แต่ไม่ยึดมั่นว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด ขึ้นอยู่กับปัญหา
และความต้องการของประชาชนในขณะนั้น จึงสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งการ
ปรับเปลี่ยนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลและทิศทางการพัฒนาของประเทศ
ทั้งนี้กฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดท าแผนพัฒนาจังหวัด ได้แก่
1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ได้ก าหนดให้รัฐจัดระบบการบริหาร
ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อ านาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
เหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์
ของประชาชนในพื้นที่ (มาตรา 78) และก าหนดให้รัฐต้องด าเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(มาตรา 87)
2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2550 ที่กล่าวให้จังหวัดจัดท าแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน
ระดับชาติ/ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประชุมหารือร่วมกับ หัวหน้าส่วน
ราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งภาคประชาสังคม/ผู้แทนภาคเอกชน ทั้งนี้ การสรรหาให้เป็นไป
ตามที่พระราชกฤษฎีกาก าหนด (มาตรา 53/1)
2.3 การทบทวนเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2.3.1 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC)
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทย
แลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความส าเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern
Seaboard ซึ่งด าเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของภาคเอเชีย
และเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ส าคัญของประเทศ โดยเฉพาะ ปิโตเคมี ยานยนต์และชิ้นส่วน ทั้งยังเป็นผลมา
จากอัตราของผลิตภัณฑ์มวลรวมรายอุตสาหกรรมที่สูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของประเทศ ทั้งยัง
ค่า GDP ของแต่ละจังหวัดในปี 2557 มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท และยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญ
ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เขต
อุตสาหกรรม อ่างเก็บน้ า และถนนสายส าคัญต่างๆ โดยในครั้งนี้ ส านักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวันออก (สกรศ.) มีเป้าหมายหลักหรือวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับพื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นน าของเอเชีย
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 20