Page 65 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 65
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
2) อุตสาหกรรมอนาคต (New S - Curve)
- หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics)
- อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
- อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
- อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
- อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
2.3.2 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ชายแดน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กล่าวคือ บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ก าหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนซึ่งรัฐจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการ
แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และการอื่นที่จ าเป็น โดยเป็นแนวคิดการพัฒนาที่มีการริเริ่มด าเนินงานในประเทศไทยมา
ยาวนานกว่า 10 ปี โดยเริ่มแรกของการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนที่มีศักยภาพของไทยเป็น
การใช้ประโยชน์จากโอกาสของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขงที่ได้ก าหนด
แผนการด าเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งและกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) โดยทั้งนี้พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด
ชายแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ าของการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชน และเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อ
ใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยภาครัฐให้การ
สนับสนุนในส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลักของการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อส่งเสริมและอ านวย
ความสะดวกการลงทุนของภาคเอกชน
ทั้งนี้การก าหนดที่ตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
พิเศษของไทยในระยะแรกให้ความส าคัญกับพื้นที่ชายแดน เนื่องจากรัฐบาลมีความประสงค์ในการจัดระเบียบพื้นที่
เศรษฐกิจชายแดนใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวที่มี
ค่าจ้างแรงงานไม่สูงมากนัก และใช้ประโยชน์จากที่ตั้งบนแนวระเบียงเศรษฐกิจเพื่อเข้าถึงตลาดในประเทศเพื่อน
บ้านและเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้คัดเลือก
และจัดล าดับความส าคัญพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพเหมาะสมในการพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
ของประเทศไว้ ดังนี้
- ที่ตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ระยะที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ชายแดนในจังหวัดตาก
สระแก้ว ตราด มุกดาหาร และสงขลา
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 22