Page 68 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 68
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
และพัฒนา กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และใช้แรงงานน้อย โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษ (ขนพ.) ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสากรรมร่วมกับส านักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
และส านักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) จัดท าข้อเสนอนโยบายพัฒนาคลัสเตอร์ โดย
เน้นที่คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ และมีความส าคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งมีมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อาหาร (Value Chain) และน าไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (2) เพื่อเสริมสร้าง
ศักยภาพการลงทุนของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีมูลค่าทั้งจากนักลงทุนเดิมและนักลงทุนรายใหม่ (3)
เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs
โดยคลัสเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ คือการกระจุกตัวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์ใน
การพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง ทั้งมีการเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ Value
Chain และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม รวมทั้งมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น
การจ้างงานหรือใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เชื่อมโยงกับ SMEs ในท้องถิ่น
โดยทั้งนี้ นโยบายคลัสเตอร์จะเป็นการยกระดับพื้นที่ที่มีศักยภาพ และเป็นฐานการผลิตของ
อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อรองรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยจะมีการเชื่อมโยง
ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่คลัสเตอร์ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตต้นน้ า-กลางน้ าา-ปลายน้ า อุตสาหกรรมสนับสนุน
สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยองค์กรของรัฐ และเอกชน รวมทั้งจะมีการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างบูรณาการใน
ด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาคนและเทคโนโลยีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์การให้สิทธิประโยชน์
ทั้งด้านภาษี และที่มิใช่ภาษีการสนับสนุนด้านเงินทุน การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบ
เหล่านี้จะช่วยให้คลัสเตอร์มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ส่งผลให้การลงทุนในพื้นที่คลัส
เตอร์มีความได้เปรียบเหนือการลงทุนในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ในระยะแรกรัฐบาลได้ก าหนดคลัสเตอร์เป้าหมายใน 2
รูปแบบ
1) Super Cluster เป็นคลัสเตอร์ส าหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่ง
อนาคต โดยจะประกอบไปด้วย
- ยานยนต์และชิ้นส่วน (7 จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี ระยองฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี และนครราชสีมา) โดยเป็นกิจการเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การผลิตรถจักรยานยนต์ขนาด
มากกว่า 248cc. การผลิตเครื่องยนต์ส าหรับยานพาหนะ การผลิตชิ้นส่วนส าคัญที่ยังไม่มีการผลิตหรือมีน้อยราย
ได้แก่ชิ้นส่วนความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน อุปกรณ์ส าหรับรถ ชิ้นส่วนระบบเชื้อเพลิง ระบบส่งก าลัง ระบบ
เครื่องยนต์การผลิตยาง ล้อ ส าหรับยานพาหนะ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม (7 จังหวัด :พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครราชสีมา) โดยกิจการส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบทาง
อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคมชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ส าหรับเครื่องมือแพทย์ยานยนต์ เป็นต้น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับ
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 25