Page 71 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 71
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1) ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัย
และความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร 2) การเพิ่มขึ้นของความ
ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีน
ทางเลือกซึ่งใช้พลังงาน ทรัพยากร และต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าแหล่งโปรตีนจากสัตว์ ในปัจจุบันประเทศไทย
สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยส่งเสริมอุตสาหกรรม
ย่อย เช่น อุตสาหกรรมสารสกัด/ผลิตภัณฑ์จากสารสกัด และอุตสาหกรรมสารออกฤทธิ์
2.4.2 อุตสาหกรรมอนาคต (New S - Curve)
กล่าวคือ การเพิ่มเติมอุตสาหกรรมใหม่ โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
โดยต้องมีการพัฒนา New S-Curve ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเปลี่ยนรูปแบบของสินค้า และเทคโนโลยี โดย
อุตสาหกรรมอนาคตเหล่านี้จะเป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะประกอบไปด้วย 5
อุตสาหกรรม ดังนี้
- หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) ในปัจจุบันประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิต
ขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มฃการใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติตามสายการผลิตมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่ม
ศักยภาพของประเทศไทยทั้งอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ วิทยาการ องค์ความรู้ และบุคคลากรที่สามารถต่อยอด
ในอนาคตได้ อาทิเช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ที่ใช้ใน
กระบวนการผลิตอัดฉีดพลาสติก หุ่นยนต์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมการขนส่งเป็น
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และยัง
อยู่ในระยะใกล้ (น้อยกว่า 4-5 ชั่วโมงบิน) กับเมืองใหญ่ของประเทศจีนและประเทศอินเดีย และยังเป็นอุตสาหกรรม
ที่ส าคัญในการเอื้ออ านวยแก่อุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิเช่น กิจการสาธารณูปโภคและบริการเพื่อการขนส่ง ศูนย์รวม
กิจการโลจิสติกส์ทันสมัย การบริการซ่อมบ ารุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul: Mro)
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน (OEM) ธุรกิจมูลค่าสูงที่ต้องการความเร็วจากการขนส่งทางอากาศ (Time -
sensitive Product) และสถาบันศึกษาและอบรมด้านการบิน
- อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) โดยอุตสาหกรรม
เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตเร็วในอนาคต และเป็น
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบอย่างมากภายในประเทศ อาทิเช่น
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ า ไบโอ
พลาสติก และการเข้าสู่ Bioeconomy
- อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) ดิจิทัลถือเป็นแนวโน้มส าคัญของโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ
อุตสาหกรรมภาคการผลิต และผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาผลกระทบและศักยภาพของประเทศไทย
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 28