Page 70 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 70
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
สืบเนื่องจากการต่อยอดอุตสาหกรรมปัจจุบันหรือ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S - Curve) รวมทั้ง อุตสาหกรรม
ที่ควรปฏิรูป (2nd Wave S-Curve) ดังนี้
2.4.1 อุตสาหกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve)
กล่าวคือ การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ที่ประเทศไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ให้มีความเข้มแข็งมาก
ยิ่งขึ้น โดยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต ซึ่งการลงทุนชนิดนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจในระยะสั้น และระยะกลาง ทั้งนี้จะประกอบไปด้วย 5 อุตสาหกรรมที่ต่อยอดจากอุตสาหกรรมปัจจุบัน
ดังนี้
- อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรมยานยนต์ถือ
เป็นรากฐานส าคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกว่า 40 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีมูลค่าถึงร้อยละ
5.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และได้รับการกล่าวถึงอย่างมากจากผู้ประกอบการยานยนต์ทั่วโลก
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากเทคโนโลยีสมัยใหม่
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นเสา
หลักส าคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่าถึงร้อยละ 24 ของรายได้การส่งออกของ
ประเทศในปี พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตส าคัญระดับโลกในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์และวงจร
รวม (Integrated Circuits) อีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
โดยถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้ (Sensors) และวงจรรวม (Integrated Circuits) ที่มีขนาดเล็กลงและมี
ความซับซ้อนมากขึ้น
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and
Wellness Tourism) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นอีกหนึ่งก าลังส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยประเทศไทย
ถือได้ว่าเป็นผู้น าด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ จากนโยบายที่เน้นเรื่องการเพิ่ม
คุณภาพของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และไทย-เที่ยว-ไทย
- อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) การเกษตร
เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดภายในประเทศไทยมีมูลค่าถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวล
รวมของประเทศ นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ท างานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตร
เป็นอุตสาหกรรมที่มีความส าคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยในปัจจุบันภาค
เกษตรกรรมในไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ าจึงมีศักยภาพที่จะสามารถยกระดับจากการน า
เทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็น
อุตสาหกรรมที่มีความส าคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จ านวนแรงงานมากที่สุด มี
มูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดในบรรดาสาขาต่างๆ ของ
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งมีโอกาส
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 27